PDPA กับการจ้างงาน

เมื่อกฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะเริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ ทำให้การเตรียมตัวและวางแนวทางเพื่อปฏิบัติตามอย่างถูกต้องครบถ้วนนั้น อาจไม่ใช่แค่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลลูกค้าเท่านั้นที่ต้องเร่งเตรียมตัว แต่ต้องบอกว่าทุกองค์กรต้องตั้งรับ ปรับตัว และเตรียมพร้อม เพราะกฎหมาย PDPA นี้ มีผลครอบคลุมไปถึงข้อมูลของพนักงาน ลูกจ้าง และบุคคลทุกคนในองค์กรด้วย แล้วนายจ้างและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง HR ควรปฏิบัติหรือต้องระวังอะไรบ้าง เพื่อไม่พลาดทำผิดกฎหมายดังกล่าว ไปดูกัน

  • นายจ้าง ถือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามบทบัญญัติในมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีใจความว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล”

  • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของนายจ้าง จึงถือเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บัญญัติไว้ว่า “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”

ข้อมูลพนักงานที่องค์กรต้องเกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง?

การรับลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้าง และ HR ย่อมมีข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัคร เพื่อทำความรู้จักบุคคลนั้นๆ ให้มากที่สุด จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งระบุตัวตนของคนนั้นๆ ได้ชัดเจน เช่น

  1. ประวัติส่วนตัว

  2. ใบสมัครงาน และเอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา ข้อมูลทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองการฝึกอบรม

  3. ผลการตรวจสุขภาพ

  4. ผลการประเมินช่วงทดลองงาน และระหว่างปฏิบัติงาน

  5. สลิปเงินเดือน และเงินพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน

  6. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครด้านพฤติกรรม ความประพฤติ ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หรือหนังสือเลิกสัญญาจ้าง

  7. ใบประกาศด้านความดีความชอบ หรือรางวัลต่างๆ

  8. สัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในแต่ละช่วง

  9. ข้อมูลสถิติการเข้างาน – เลิกงาน การลางาน ขาดงาน หรือมาสาย

  10. ประวัติทางอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ ก่อนเป็นพนักงาน

  11. ประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย PDPA นั้น ก่อนที่นายจ้างจะได้พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร จะต้องมีการขอความยินยอมจากผู้สมัครงานก่อน ตามมาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่

(๑) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ

เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสม

เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด

(๒) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล

(๓) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือ

เพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น

(๔) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

(๕) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสาคัญ

น้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

(๖) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่( ๓) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น

 

การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการจ้างงาน มีกิจกรรมอะไรบ้าง

1.ก่อนการจ้างงาน การสมัครงาน จะสอดคล้องกับ มาตรา ๒๔ (๓) HR ต้องได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้สมัคร เพื่อใช้ในการประกอบพิจารณาการสมัครงาน ดังนี้

  • ประวัติส่วนตัว

  • ใบสมัครงาน และเอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา ข้อมูลทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองการฝึกอบรม

  • ผลการตรวจสุขภาพ

  • ประวัติทางอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ ก่อนเป็นพนักงาน

  • ประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

2.ระหว่างการจ้างงาน การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาจ้าง จะสอดคล้องกับ มาตรา ๒๔ (๓)

ยกตัวอย่างข้อมูล

  • สลิปเงินเดือน และเงินพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน

  • ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานด้านพฤติกรรม ความประพฤติ ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หรือหนังสือเลิกสัญญาจ้าง

  • ใบประกาศด้านความดีความชอบ หรือรางวัลต่างๆ

  • สัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในแต่ละช่วง

  • ข้อมูลสถิติการเข้างาน – เลิกงาน การลางาน ขาดงาน หรือมาสาย

  • รูปภาพกิจกรรม เพื่อสื่อประชาสัมพันธ์บริษัท

  • หลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง

ที่ทำงานใหม่ขอประวัติลูกจ้างที่ลาออกไปแล้ว สามารถให้ได้ แต่พนักงานต้องให้ความยินยอมไว้ก่อนเลิกจ้าง ตามมาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

อ้างอิงข้อมูล

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ธรรมนิติ