6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกจ้างที่ออกจากงานแล้วว่างงาน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ

แต่หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุบางประการที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชย หรือทดแทนใดๆ ได้ ตามกรณีต่อไปนี้

 

1. ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจากจ้างกรณีทุตจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง มักเกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

2. จงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย

ลูกจ้างที่ดำเนินการต่างๆ โดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง

การทำงานแต่ละที่ย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นหากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว นายจ้างก็มีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

4. ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 7 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุอันควร

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่สามารถติดต่อได้ต่อเนื่อง 7 วันทำงาน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ ถือว่าเข้าข่ายถูกเลิกจ้างได้โดยไม่ได้รับสิทธิชดเชยใดๆ

5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

ความประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือโดยละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา
นายจ้างที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างที่กระทำการใดๆ โดยขาดความระมัดระวัง ทั้งที่สามารถคาดการณ์เห็นได้ชัดว่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้น นายจ้างสามารถแจ้งเลิกจ้างและไม่จ่ายเงินชดเชยกับลูกจ้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันทีโดยปริยาย และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้


การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นฝันร้ายของหลายๆ คน ยิ่งกรณีที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าอาจทำให้การใช้ชีวิตหลังออกจากงานนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ยิ่งการออกโดยมีความผิดติดตัว นอกจากจะเสียโอกาสในหน้าที่การงานแล้ว ยังเสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ด้วย

 

เงินทดแทนกรณีว่างงานคืออะไร?

เงินทดแทนกรณีว่างงานคือสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา โดยเมื่อผู้ประกันตนดำเนินการขึ้นทะเบียนว่างงานเรียบร้อยแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน

 

ที่มา www.dharmniti.co.th

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง

ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม

ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?

หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง

เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้

เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่

เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่

เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?

เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่

“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?