นายจ้างสามารถหักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนหรือไม่

นายจ้างสามารถหักเงินเดือนพนักงานเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนหรือไม่

นายจ้างจะดำเนินการหักเงินเดือนได้ต่อเมื่อกองทุนได้แจ้งต่อนายจ้างอย่างเป็นทางการเท่านั้น เมื่อได้รับหนังสือแล้ว สามารถหักได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เนื่องจากเป็นการชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ตามมาตรา76 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

นายจ้างไม่หักได้ไหม

หากนายจ้างไม่ดำเนินการตามมาตรา 51

  • ไม่ได้หักเงินได้พึงประเมิน
  • หักแต่ไม่นำส่ง หรือ นำส่งแต่ไม่ครบจำนวนที่กองทุนแจ้ง
  • หักแต่นำส่งเกินกำหนดระยะเวลา

นายจ้างจะต้องรับผิดชอบ

  • ชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไป

ยกเว้นนายจ้างพบเหตุดังนี้

1.ลาออก ถูกปลดออก ไล่ออก หรือโอนย้าย

2.รายได้คงเหลือไม่พอหักเงินเพื่อชำระหนี้(หลังหักรายการตามกฎหมาย)

3.ลาโดยไม่ได้รับเงินเดือน

4.ได้รับโทษทางวินัยไม่ได้รับเงินเดือน

5.ชำระหนี้เสร็จสิ้น

6.มีสถานะพักการจ้างโดยไม่ได้รับเงินเดือน

7.ไม่เป็นพนักงาน/ลูกจ้างของหน่วยงาน

8.เสียชีวิต

ทั้งนี้ นายจ้างมีหน้าที่ทำรายการแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อกองทุนผ่านระบบ e-PaySLF โดยให้นายจ้างนำส่งรายชื่อ และจำนวนเงินที่สามารถหักได้ พร้อมแจ้งเหตุสำหรับรายที่หักได้แต่ไม่เต็มจำนวนที่กองทุนแจ้งหรือแจ้งเหตุสำหรับรายที่ยอดนำส่งเป็น 0 บาท

 

 

มาตรา 42 หน้าที่ของผู้กู้ยืม

1.ให้ความยินยอมในขณะทำสัญญากู้ยืม เพื่อให้หักเงินเดือนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ

2.แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินต่อนายจ้าง ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติงานและยินยอมให้หักเงินเดือนเพื่อชำระคืนกองทุน

3.ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งยินยอมให้กองทุนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุน

มาตรา 61 

ให้ถือว่าหนี้ของผู้กู้ยืมเงิน กยศ. และ กรอ. ตามกฎหมายเดิม เป็นหนี้ที่จะต้องชดใช้คืนตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 45

กองทุนมีอำนาจในการขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมทั้งภาครัฐและเอกชน

1.ขอข้อมูลส่วนบุคคล

2.เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมและชำระหนี้

3.การดำเนินการต่างๆ

มาตรา 46

เพื่อประโยชน์ของกองทุน หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจัดส่งข้อมูลให้กองทุนตามที่กองทุนร้องขอ

มาตรา 51

องค์กรนายจ้าง หมายถึง บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน

มีหน้าที่

- หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง [เฉพาะมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามการจ้างแรงงาน]

- โดยนำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลาการนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

ลำดับการหักเงิน

1. หักภาษี ณ ที่จ่าย

2. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน/ประกันสังคม

3. เงินกู้ยืมกองทุน

การลดหนี้

วันที่นายจ้างได้มีการหักเงินเดือนตามจำนวนที่ได้หัก

หน้าที่ของกรมสรรพากร

กรมสรรพากรจะนำส่งเงินให้กองทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ

(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน หนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความ ยินยอมจากลูกจ้าง

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 กำหนดห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้าง โดยมีข้อยกเว้น ดังนี้

หักโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ได้แก่

ก. ชำระภาษีเงินได้หรือชำระเงินอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ม.76(1)

ข. ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน ม.76(2)

ค. เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม ม.76(5)

หักโดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ได้แก่

ก. ชำระหนี้สินสหกรณ์ หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง ฝ่ายเดียว ม.76(3)

ข. เป็นเงินประกันหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง ม.76(4)

 

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและหน้าที่เกี่ยวกับการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมคืนกองทุน ตามมาตรา 51

กยศ

  • แจ้งนายจ้างเกี่ยวกับวันที่เริ่มและจำนวนเงินที่จะต้องหักของผู้กู้ยืมที่เป็นพนักงาน/ลูกจ้าง
  • ติดตามให้นายจ้างรับผิดชอบในหน้าที่ที่ต้องนำส่งเงินให้กรมสรรพากร ตามจำนวนที่แจ้งและภายในระยะตามกฎหมาย
  • ติดตามเงินจากกรมสรรพากร

นายจ้าง

  • หักเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ของพนักงาน/ลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมกองทุน เป็นต้นว่า เงินเดือน/ค่าจ้าง
  • นำส่งให้กรมสรรพากร ภายในกำหนดระยะเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

กรมสรรพากร

  • ออกหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับเงินจากองค์กรนายจ้างกับการนำส่งเงินให้แก่กองทุน
  • รับเงินจากที่องค์กรนายจ้างนำส่ง
  • นำส่งเงินให้แก่กองทุน

ผู้กู้ยืม

  • สำหรับพนักงาน/ลูกจ้างใหม่ ให้แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมต่อนายจ้างภายใน 30 วัน
  • ยินยอมให้กองทุนเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล/เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมและการชำระคืน
  • ให้หักเงินเดือนตามจำนวนที่กองทุนแจ้ง เพื่อชำระคืนกองทุน

 

HR หมดกังวลเรื่องการหักเงินเดือนชำระหนี้กยศ. ด้วย Business Plus HRM

  • โปรแกรมรองรับทั้งกลุ่มที่หักในอัตราคงที่/ไม่คงที่ทุกเดือน
  • สามารถกำหนดตัวเลขที่ต้องการหัก โดยสามารถบันทึกเป็นเงินหักประจำได้
  • มีรายละเอียดการหักในใบจ่ายเงินเดือนเพื่อพนักงานทราบ
  • HR สามารถตรวจสอบยอดหักได้ หักกับใคร เท่าไหร่ ในแต่ละงวด

อ่านเพิ่มเติม โปรแกรมรองรับการหักเงินเดือนชำระหนี้กยศ.

 

ที่มา www.studentloan.or.th