“เอ็นข้อมืออักเสบ” ภัยใกล้ตัวของมนุษย์ออฟฟิศ ไม่ควรมองข้าม

          การเจ็บปวดและอักเสบที่ข้อมือ สามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคืออักเสบของเอ็นข้อมือ (Tendonitis) ซึ่งเกิดเมื่อเอ็นข้อมือที่เชื่อมโยงกล้ามเนื้อกับกระดูกข้อมือและมือถูกบาดเจ็บหรือทำงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การใช้มือเกินขีดจำกัด การทำงานที่ต้องใช้มือมาก หรือการทำกิจกรรมที่ทำให้มือต้องใช้พลังงานมาก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์หรือการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญสูง ๆ ก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอักเสบเอ็นข้อมือได้

          อาการที่พบในโรคนี้นั้น จะเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือด้านหลังทางฝั่งนิ้วโป้ง ทำให้เกิดการหดตัวการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นภายในโดยส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุของอาการนั้นจะเกิดจากการเสื่อมสภาพจากอายุที่มากขึ้น หรือจากการใช้งาน รวมไปถึงอาการต่าง ๆ คือ โรครูมาตอยด์

การจัดการและรักษาเอ็นข้อมืออักเสบสามารถทำได้

  1. พักผ่อน ให้เวลาพักผ่อนให้แก่เอ็นข้อมือ เพื่อลดการใช้งานที่ส่งผลต่ออักเสบ
  2. การใช้งานอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ช่วยที่ช่วยทุ่นแรง เพื่อลดการใช้ หรือลงน้ำหนักของมือ
  3. การประคบเย็นและร้อน เพื่อส่งผลกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ
  4. การทายาลดปวด การใช้ยาต้านอักเสบหรือยาแก้ปวดที่แพทย์สั่ง การฝังเข็มหรือการทำกายภาพบำบัดอาจเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผล

น้องบีพลัสมีท่าบริหารกล้ามเนื้อ บริหารข้อมือ มาฝากชาวออฟฟิศกัน

  1. แตะปลายนิ้วโป้งกับปลายนิ้วก้อย ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  2. ดัดข้อมืองอลงให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาทีสลับกับ ดัดข้อมือกระดกขึ้นให้มากที่สุดค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  3. หงายมือ กำมือ แล้วค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วค่อยกลับไปตำแหน่งเดิม ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  4. คว่ำมือ กระดกมือ ขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง
  5. กระดกข้อมือเอียงไปทางด้านข้าง ขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง
  6. บีบวัตถุ เช่น ลูกบอลเล็กๆ ดินน้ำมัน บีบให้แน่นที่สุดค้างไว้ 10 วินาที สลับกับคลายออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  7. ใช้ยางยืดวงใหญ่ใส่ที่รอบนอกของนิ้วมือ กาง-หุบนิ้วมือต้านแรงยางยืด ทำซ้ำ 10 ครั้ง 


ที่มา ศิริกร กายภาพบำบัด  และ  mgronline