ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยและไม่มีแรงในการทำงานหรือดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อคุณต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตประจำวัน ภาวะหมดไฟอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ หากคุณรู้สึกว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟ ควรพิจารณาการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหรือแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและการดูแลรักษาที่เหมาะสม เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและชีวิตประจำวันในทางที่ช่วยลดความกดดันและป้องกันภาวะหมดไฟในอนาคต
น้องบีพลัสขอชวน มาสำรวจตัวเอง สัญญาณและอาการที่อาจเกิดขึ้น ก่อนเกิดภาวะหมดไฟ
- ภาวะหมดไฟไม่ใช่โรคซึมเศร้า ภาวะนี้ไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าหากไม่ได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ดีเมื่อเจอภาวะหมดไฟนี้
- เช็ก 3 อาการด่วนเพราะขั้นภาวะหมดไฟแล้ว
-
ความเหนื่อยและขาดความพลัง คุณรู้สึกเหนื่อยและไม่มีความพลังในการทำงานหรือทำกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ที่คุณเคยทำได้โดยสะดวกและสนุกสนาน
-
การลดความสนใจและความพึงพอใจ คุณรู้สึกไม่สนใจสิ่งที่เคยสนใจและไม่สามารถค้นพบความสุขจากกิจกรรมที่เคยให้คุณความพอใจ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น ทั้งเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน
-
การสูญเสียอารมณ์ ต่อต้านและมองงานของตัวเองในแง่ลบเหมือนขาดแรงจูงใจ คุณอาจรู้สึกเสียใจหรือโมโหเกินไป และมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นคนใจร้อนและยิ่งใหญ่เป็นคนที่รู้สึกหมดแรงและเศร้าบ่อย ๆ
- สกัดกั้นภาวะหมดไฟตามบุคลิก
Direct Communicators มีภาวะเป็นผู้นำ เป็นคนมีความมุ่งมั่นแบบแผนชัดเจน ทุ่มกับงาน วิธีเลี่ยงภาวะหมดไฟด้วยการต้องหากเวลาพัก รักษาความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตตัวเองบ้าง
Reflective Communicators ชอบช่วยเหลือแทบไม่เกี่ยง เลี่ยงความขัดแย้ง ไม่ค่อยออกความคิดเห็น ต้องรู้จักปฏิเสธคนอื่น กล้าพูดในสิ่งที่ต้องการพูด เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในทีมมากขึ้น
Outgoing Communicators อัธยาศัยดี เข้ากับคนอื่นง่าย ชอบทำงานเป็นทีม สกัดกั้นตัวเองก่อนหมดไฟด้วยการบริหารจัดการเวลาจดจ่อกับงานกับแบ่งเวลาพักให้ดี
Reserved Communicators พูดน้อย รักสงบ ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ ลองใช้โปรแกรมแชตโต้ตอบกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานให้ดีขึ้น
Predictable Communicators ใจเย็น สุขุมรอบคอบ ทำงานเป็นระบบ ยึดกฎระเบียบ แต่ความไม่ชอบยืดหยุ่นอาจทำให้กดดันการทำงานเกินไป ควรผ่อนคลายความกังวลในเรื่องต่างๆ บ้าง และแชร์ความคิดเห็นกับผู้อื่นมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม
Dynamic Communicators ร่าเริง กระตือรือร้นตลอดเวลา เวลาทำงานยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ แต่ไม่ค่อยมีสมาธิ ต้องค้นหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และมีสมาธิมากขึ้น
Compliant Communicators ช่างสังเกต วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวินัย ทำงานตามขั้นตอน มุ่งมั่นตั้งใจ กลัวทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่วางไว้ ควรกำหนดตารางในวันทำงานใหม่ แบ่งเวลาพัก และไม่ผิดที่จะปฏิเสธเสียงขอความช่วยเหลือบ้าง
Pioneering Communicators รักอิสระ ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ชอบความท้าทาย ชอบทำโปรเจคใหม่ๆ จนเกิดความเหนื่อยล้า เครียด และกดดัน จนจำนวนงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ต้องรู้จักอดทนต่อสิ่งต่างๆ และจัดตารางงานแต่ละวันให้ชัดเจน
ที่มา SCB