แทบจะทุกออฟฟิศ จะมีคนที่ช่างยุยง พูดน้ำไหลไฟดับ พูดไปเรื่อย ให้นายจ้างเสียหาย ให้บริษัทเสียหาย คนแบบนี้สามารถเลิกจ้างได้ ไม่ต้องจ่ายชดเชย!!
การยุยง และ การปลุกปั่น หมายถึงการกระทำที่มีจุดประสงค์เพื่อชักจูงหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางที่เป็นอันตรายหรือสร้างความวุ่นวาย
-
การยุยง หมายถึง การพูดหรือการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความคิดหรือความรู้สึกในการทำสิ่งที่ไม่ดีหรือผิดกฎหมาย เป็นการกระตุ้นให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น ยุยงให้ทะเลาะวิวาทหรือยุยงให้ประท้วงอย่างรุนแรง
-
การปลุกปั่น หมายถึง การกระทำที่พยายามกระตุ้นให้กลุ่มคนหรือสังคมเกิดความโกรธเคืองหรือกระทำการที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความไม่สงบ เป็นการทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกที่รุนแรงและนำไปสู่การกระทำที่ไม่ดี เช่น การปลุกปั่นให้คนออกมาประท้วงอย่างรุนแรงหรือการปลุกปั่นให้เกิดการก่อการจลาจล
ทั้งสองคำนี้มักถูกใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือการก่อความวุ่นวายที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมหรือองค์กรในทางลบ
การยุยงปลุกปั่นหรือการกระทำที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในที่ทำงาน อาจเข้าข่ายการละเมิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งตามกฎหมายแรงงานของไทย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างมีการกระทำผิดวินัยร้ายแรงหรือมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อนายจ้าง
อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การแจ้งเตือนล่วงหน้า หรือการให้โอกาสลูกจ้างชี้แจงพฤติกรรมของตนเอง หากมีการเลิกจ้างโดยไม่ถูกต้อง ลูกจ้างอาจมีสิทธิ์ฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยได้ ดังนั้น การเลิกจ้างในกรณีนี้ควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างจากการยุยงปลุกปั่นพูดไปเรื่อยจนนายจ้างเกิดความเสียหายมีมาแล้ว ในฎีกาที่ 13587/2556
โดยยุยงส่งเสริมให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานเกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ โดยไปบอกพนักงานแผนกอื่นๆว่า บริษัทจะย้ายสำนักงานใหม่ ถ้าไม่ยอมไป เมื่อถึงเวลาย้ายจะถูกฟ้องนะ
จนทำให้ผู้บริหารต้องประชุมชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับบริษัท ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานอันจะส่งผลกระทบต่อการย้ายสถานประกอบกิจการของบริษัท เกิดความยุ่งยากมากขึ้น เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตแล้ว ยังเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอีกด้วย จึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 ( 2 )