เบื้องต้นต้องเข้าใจกติกาว่า นายจ้างจ่ายเงินเพื่อแลกกับแรงงาน หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างต้องเอาแรงงานไปแล้วกับเงินค่าจ้าง สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะตกลงกันด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้ได้นั้นจึงเป็นข้อตกลงที่แฟร์ ๆ เพราะนายจ้างก็คงไม่ปรารถนาที่จะจ่ายเงิน แต่ไม่ได้แรงงานจากลูกจ้าง หรือกรณีลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้ว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทน จะอ้างว่าลาออกไม่ชอบ หรือทำงานไม่ครบเดือน หรือเลิกจ้างเพราะทำผิดจะไม่จ่ายไม่ได้ เพราะหลักการง่าย ๆ คือ เมื่อได้แรงงานไปแล้ว เงินต้องจ่ายมา
สัญญาจ้างแรงงานจึงเป็นอุปมาได้ดั่งการยื่นหมูยื่นแมว งานมาเงินไป, เงินไปงานมา
อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างป่วยบ่อย แม้กฎหมายจะให้สิทธิลาป่วยได้ “เท่าที่ป่วยจริง” ซึ่งนายจ้างต้องอนุมัติการลา หากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายคือป่วย แต่หากลาป่วยบ่อยก็จะขัดกับหลักการที่กล่าวมาข้างต้น คือนายจ้างจ่ายเงิน แต่แรงงานไม่มี นายจ้างจึงอาจเลิกจ้างใด้
- ลาป่วยบ่อย นายจ้างเลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
แต่การใช้สิทธินั้นก็ทำให้สัญญาที่เคยให้ไว้ว่าจะทำงานให้แก่นายจ้างก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งภาษาที่ศาลท่านใช้คือ คำว่า “หย่อนสมรรภาพในการทำงาน” ซึ่งเข้าเงื่อนไขที่จะเลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม เพราะถือว่า “มีเหตุอันสมควร และเหมาะสม”
ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ๒๖๐๐/๒๙๒๙ ที่ว่า “การลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์ และหย่อนสมรรภาพในการทำงาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”
- เลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อยต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ว่านายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมตาม มาตรา ๔๙ พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ก็ตาม แต่การเลิกจ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ต้องเข้าข้อยกเว้นของการไม่จ่ายค่าชดเชยด้วย ซึ่งการเลิกจ้างเพราะป่วย ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๑๙ ด้วย เช่นนี้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อย
ที่มา เพจ กฎหมายแรงงาน
ที่มา เพจ กฎหมายแรงงาน
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน
ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม
ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง
เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้
เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่
เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่
เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?
เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่
“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?