เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถ เงินค่ารับรองให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเป็นค่าจ้าง
ผลจากการนี้จึงต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่า ot ค่าชดเชย และเงินอื่น ๆ
เคยมีคดีที่ลูกจ้างเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคอมพิวเตอร์ เอาคอมไปขายบริษัทร้าง เมื่อนายจ้างเรียกมาสอบถามจึงไม่มาทำงานอีกเลย นายจ้างจึงเลิกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ ๓ วัน
ศาลแรงงานกลาง ตัดสินให้จ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า(ค่าตกใจ) ค่าเลิกจ้างไม่เป่นธรรม จากฐานค่าจ้างรวมกับค่าต่างๆ นายจ้างต่อสู้ว่า เงินค่าตำแหน่ง ค่ารถ ค่ารับรอง ไม่ใช่ค่าจ้าง
การที่นายจ้างจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถ เงินค่ารับรองให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน จากคำ วินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่ลูกจ้างและค่ารับรองจึงเป็นเงินทีมีจำนวนแน่นอนที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างจึงถือว่าเป็นค่าจ้าง
ข้อสังเกต
การพิจารณาว่าเงินใดเป็นค่าจ้างหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องจำชื่อ เพราะแม้กำหนดชื่อว่าเป็นสวัสดิการ แต่หากมีการจ่ายแน่นอนเหมาไปกับค่าจ้างทุกเดือน เช่นนี้ก็ถือเป็นค่าจ้าง ดังนั้น ควรจำลักษณะการจ่าย หรือความมุ่งหมายในการจ่าย
ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๒๔/๒๕๔๘ และ เพจกฎหมายแรงงาน