การจะเปิดร้านกาแฟไม่ใช่เพียงมีเงินทุน มีที่ แล้วสามารถเปิดได้เลย !?

     การจะเปิดร้านกาแฟไม่ใช่เพียงมีเงินทุน มีที่ แล้วสามารถเปิดได้เลย เราต้องขอใบอนุญาตตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งขึ้นกับขนาดของร้าน กิจกรรมในร้าน เช่น

     1.ต้องขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร

(มี 2 ประเภท คือ ไม่เกิน 200 ตร.ม. และมากกว่า 200 ตร.ม.) มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 100 – 1,000 บาท ปกติขอที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

     2.ต้องขอจดทะเบียนพาณิชย์มีค่าใช้จ่าย 50 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1 วัน ปกติแล้วขอได้ที่ หน่วยงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

แต่อ่านแล้วอย่าเพิ่งตกใจไปนะ ยุคดิจิทัลแล้วไม่ต้องวิ่งไปหลายที่ให้เสียเวลา ขอที่เดียวครบ จบทุกใบอนุญาตที่เว็บไซต์ Bizportal.go.th

ใบอนุญาตที่คุณต้องขอ หากไม่แน่ใจให้ระบบแนะนำให้ คลิกที่นี่

     3.ภาษีท้องถิ่น

     3.1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

 ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว เป็นต้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

     3.2.ภาษีป้าย

ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี

     3.3.ภาษีบำรุงท้องที่

 กรณีร้านตั้งอยู่ในที่ดินของเจ้าของร้านเอง จะมีภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี

     4.การดำเนินการด้านแรงงานในการเป็นนายจ้าง

     ขึ้นทะเบียนนายจ้าง

ผู้ประกอบการสามารถขึ้นทะเบียนนายจ้างตามกฎหมาย โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน

คู่มือการยื่นคำขอแบบออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ 

     การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน

ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสํานักงานประกันสังคมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้าง เข้าทำงานมิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างมีหน้าที่รวบรวมแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) โดยใช้แบบ สปส. 1-02 เป็นหนังสือนำส่งในการยื่นต่อสํานักงานประกันสังค

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน

     ประกันสังคม

เงินประกันสังคมที่นายจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งฐานค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15 ,000 บาท

 

เมื่อเริ่มเปิดร้านมีการขาย และเริ่มมีรายได้แล้ว ก็ต้องมีภาษีจากรายได้เกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

     1.ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา

      ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

> ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน

> ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

     2.ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล

     ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เราต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยต้อง ยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนัก งานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถาน ประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน)ภ.ง.ด. 51  ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีสำหรับรอบบัญชีตามปกติตามปีปฏิทินคือ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.

ยื่นเอกสาร สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ถึงวันที่ 31 ส.ค. หากยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน

> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออก จากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

     3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

> ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ

> มีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้า และวัตถุดิบรายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

ที่มา คลินิกภาษีร้านกาแฟ กระทรวงการคลัง

        GDA Thailand taxclinic.mof.go.th

        Biz Portal