ทำความรู้จักกับร้านขายวัสดุก่อสร้าง เริ่มต้นธุรกิจอย่างไร

วัสดุก่อสร้างมีอยู่หลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ปูนซีเมนต์, กระเบื้องหลังคา, อิฐบล็อก, ทราย,ท่อพีวีซี, สี และเคมีภัณฑ์, กระเบื้องปูพื้น-ผนัง, ฝ้าผนัง-เพดาน เป็นต้นลูกค้าหลักของร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งรายใหญ่และรายย่อยซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อเป็นประจำครั้งละมากๆ(ซื้อส่ง)

ปัจจัยที่ช่วยในการส่งเสริมการเปิดร้านขายวัสดุก่อสร้าง

1.ทำเลที่ตั้งและตัวร้าน 
ควรมีสถานที่กว้างขวางเพราะจะต้องมี ทั้งส่วนที่มีหลังคาสำหรับวัสดุประเภทสี ท่อ พีวีซี และส่วนเปิดโล่งสำหรับวัสดุพวกหิน ทราย และต้องมีพื้นที่จอดรถสำหรับส่งของ และลูกค้าด้วย ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างไม่ จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำให้ช่วย ประหยัดเงินทุนและค่าใช้จ่าย (ค่าไฟฟ้า) ได้ แต่ควรจัดวางสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่อย่าง เป็นระเบียบ และรักษาความสะอาดของร้าน ให้ดีด้วย

2.สินค้า
สินค้าวัสดุก่อสร้างมียี่ห้อและรูปแบบ หลากหลาย เช่น สินค้าปูนซีเมนต์สามารถ แยกย่อยได้หลายประเภทตามความต้องการ ในการใช้งานที่แตกต่างกัน หากร้านของเรามี วัสดุก่อสร้างให้เลือกน้อย ลูกค้าก็อาจตัดสินใจ ไปเข้าร้านอื่นที่ใหญ่กว่า มีตัวเลือกมากกว่า แต่ถ้าต้องการทำร้านขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้อง ใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย

3.เงินลงทุนเริ่มแรก
ธุรกิจนี้ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกสูง ทั้ง จากต้นทุนค่าซื้อสินค้าที่มียี่ห้อและรูปแบบ เป็นจำนวนมาก ค่าเครื่องไม้เครื่องมือ และ ค่ารถส่งของ นอกจากนี้ในช่วงเริ่มต้นกิจการ เรามักต้องซื้อสินค้าเป็นเงินสด ทำให้เงินลงทุน จะจมลงไปในตอนแรก ในขณะที่ยังไม่แน่ใจ ว่ากิจการจะไปได้ด้วยดีหรือไม่ ดังนั้น เงินที่ใช้ ลงทุนควรเป็นเงินส่วนตัวของเจ้าของที่ไม่ได้ มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องอื่น ๆ (หรือที่เรียก ว่า “เงินเย็น” นั่นเอง)

4.การบริการ 
ร้านขายวัสดุก่อสร้างควรมีบริการขนส่ง สินค้าให้ลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะแข่งขัน กับร้านอื่นได้

5.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายกับลูกค้า 
เนื่องจากกลุ่มผู้รับเหมาจะเป็นลูกค้า ประจำที่ซื้อสินค้าสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบ ควรมีความซื่อสัตย์และรักษาความสัมพันธ์ กับลูกค้าให้ดี

6.ความรู้เกี่ยวกับสินค้า
เราควรมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง ประเภทต่างๆ พอสมควร เพื่อให้ลูกค้ามีความ มั่นใจในร้านมากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกค้าหลักซึ่งเป็น ผู้รับเหมาก่อสร้างจะมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุ ก่อสร้างเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

7.ระบบการบริหารจัดการร้าน
ผู้ประกอบการควรมีระบบคลังสินค้าและ ระบบบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ ระบบ คลังสินค้าที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าเราจำเป็นต้อง สั่งซื้อสินค้าเมื่อใด และในปริมาณเท่าใด ส่วน ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้เรารู้ว่าร้านได้กำไร หรือขาดทุนเท่าใด

เริ่มต้นธุรกิจวัสดุก่อสร้างด้วยความเข้าใจพื้นฐาน

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของกิจการและสามารถเข้าสู่ระบบ ภาษีได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มี เงินได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนด้วย

1.การซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ ในการเปิดร้าน
เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม เราจะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขาย โดยผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเรา ต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษี มูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีที่เราเป็น ผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็น หลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณ ภาษีเงินได้ ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

2.การจ้างลูกจ้าง 
ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการ เสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรม สรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

3.การจัดหาสถานที่ตั้ง 
สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่าและต้อง เสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วย

 

เริ่มจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเราก็ต้องเริ่มเรียนรู้เรื่องการเสียภาษี  รายละเอียดเกี่ยวกับภาษี ดังนี้

การจำหน่ายในประเทศ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    ผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งได้แก่
    > ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ในเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือน มกราคม-มิถุนายน
    > ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ในเดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ ในครั้งที่ 2

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
    เราจะต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อ กรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือทางอินเทอร์เน็ต ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
    > ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่ วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
    > ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ แต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำ ภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหัก ออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลา บัญชี

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    > เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่ง มอบสินค้าทุกครั้ง
    > เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและ วัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ปัจจัยเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าร้านวัสดุก่อสร้าง

            ทำเลที่ตั้ง โดยพิจารณาจากตำ แหน่งที่ตั้งที่ลูกค้ามองเห็นร้านชัดเจน เพื่อจะได้รับทั้งลูกค้าขาจรและ ขาประจำ นอกจากนี้ การคมนาคมต้องสะดวก เพราะต้องมีรถขนส่งวิ่งเข้า-ออก ส่วนขนาดของร้านต้องมีความ สัมพันธ์กับตลาดและจำนวนรายการสินค้าที่จะขาย โดยแบ่งพื้นที่ไว้เป็นคลังสินค้า และบริเวณจอดรถขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ ควรเลือกพื้นที่ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างไม่มากเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน 

            การบริการ ตลาดร้านอุปกรณ์ก่อสร้างควรให้ความสำคัญกับการบริการก่อนราคาสินค้า เพราะลูกค้า ส่วนมากมักจะมาด้วยปัญหา จึงควรมีการจัดหาสินค้าดี มีคำ แนะนำที่ถูกต้อง ในราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกค้ามักมี การเปรียบเทียบราคา หากราคาไม่แพงเกินกว่าร้านข้างเคียงและบริการขนส่งรวดเร็ว ก็น่าจะสามารถทำ ยอดขาย ได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ การให้บริการที่ครบวงจรก็นับเป็นกลยุทธ์ที่ควรให้ความสำคัญหากมีทุนเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบ ติดตั้ง จนถึงซ่อมแซม ในลักษณะของ Home service ซึ่งให้บริการตรวจเช็ค ทำ ความสะอาด เปลี่ยนสุขภัณฑ์ รวมไปจนถึงการทาสี และการปรับปรุงบ้าน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันการจะหาช่างซ่อมแซม ตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้รายได้ส่วนนี้ จะไม่ใช่รายได้หลักและมีสัดส่วนไม่มาก แต่ถือเป็นจุดขายที่น่าจะสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและดึงดูดให้ลูกค้า กลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการได้เป็นอย่างดี 

            เงินทุน กิจการนี้ใช้เงินหมุนเวียนมาก เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย หากเงินทุนไม่พอหรือสายป่าน ไม่ยาวพอก็อาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง และนำ ไปสู่การเกิดภาวะขาดทุนได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของธุรกิจร้านวัสดุ ก่อสร้างคือ ค่าใช้จ่ายประจำ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรจะต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ รวมไปจนถึงการคัดเลือกประเมินผลคู่ค้า (Vendor’s Service Level) ที่ควรจะประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ความสามารถทางการผลิต คุณภาพสินค้า คุณภาพการให้บริการ และความสามารถในการจัดส่ง

            ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ผู้ประกอบการเองหรือลูกจ้างควรจะต้องมีทักษะความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่วาง จำหน่ายพอสมควร เพราะบางโอกาสลูกค้ามาหาสินค้าบางอย่าง แต่ลูกค้าเรียกไม่ถูก หรือไม่ลูกค้าก็อาจจะหยิบ ตัวอย่างสินค้าจากที่บ้านมา ดังนั้น ผู้ประกอบการก็ควรต้องรู้ทันทีว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั้นคืออะไร หรือใช้วัสดุ ก่อสร้างใดทดแทนได้บ้าง โดยแหล่งความรู้ก็อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ประกอบการเอง หรือจากการ พูดคุยกับลูกค้า หรือหาความรู้จากทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม ขณะเดียวกันควรต้องพิจารณาคัดเลือกคนงานขาย สินค้า และคนขับรถขนส่งสินค้าที่มีทักษะความสามารถด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายในขณะขนส่ง สินค้าเมื่อถึงมือลูกค้า

            การสร้างเครือข่าย มีทั้งการสร้างเครือข่ายโดยการเป็นพันธมิตร หรือตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตวัสดุ ก่อสร้างรายใหญ่ การเป็นพันธมิตรกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายอื่น เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้างที่ร้านตนเองไม่ได้สต๊อกไว้ มาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้า หรือการสร้างเครือข่ายกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายย่อยเพื่อขายสินค้าบางรายการที่ร้าน ของตนเองจัดซื้อไว้ในปริมาณมาก ตลอดจนถึงการมีพันธมิตรหรือสายสัมพันธ์ที่ดีกับบรรดาช่างรับเหมาก่อสร้าง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ

การเตรียมความพร้อมของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างนับจากนี้ จึงต้องยึดแนวคิดการใช้ปัจจัยพื้นฐาน ของการดำเนินธุรกิจ ได้แก่

  • ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนมากเพียงพอ เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย ซึ่งต้องมีการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังด้วย
  • ที่ดินควรมีทำ เลเหมาะสม ตั้งอยู่ในตำ แหน่งที่มีคนสัญจรไปมามากพอสมควร
  • พิจารณาคัดเลือกคนงานขายสินค้า และคนขับรถขนส่งสินค้าที่มีทักษะความสามารถ
  • ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการจะต้องบริหารจัดการ วางระบบเกี่ยวกับการซื้อมา-ขายไป การทำบัญชีให้รัดกุม และที่ขาดไม่ได้คือมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ที่มา taxclinic.mof.go.th และ www.kasikornbank.com