ยุคนี้คิดจะเป็นเจ้าของธุรกิจ มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อมอีกต่อไป เพราะมีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้คุณ ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของกิจการได้อย่างง่าย อย่างการสร้างแบรนด์รองเท้าเป็นของตัวเอง ดูเหมือนว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ หน้าใหม่ไม่น้อย ที่วาดฝันว่าจะทำรองเท้าดีๆ สักคู่ เพื่อกระโดดสู่สนามแข่งขัน ก็หอบเอาความคิดเหล่านี้ไปให้โรงงานผลิตออกมาให้ แต่ท้ายที่สุดความฝันนั้นอาจจะสะดุดได้ เพราะคุณอาจจะยังไม่เข้าใจในธุรกิจรองเท้าจริงๆ ฉะนั้นก่อนจะกระโดดสู่ตลาดรองเท้า คุณรู้เรื่อง เหล่านี้แล้วหรือยัง
กว่าจะมาเป็นรองเท้าหนึ่งคู่ ก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกิจรองเท้า สิ่งแรกเราควรรู้ก่อนว่า กว่าจะมาเป็นรองเท้าได้คู่หนึ่งต้องผ่านขั้นตอน วิธีการอะไรบ้าง ในรองเท้าหนึ่งข้าง มีส่วนประกอบหลักสำคัญอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ส่วนที่หุ้มห่อเท้าด้านบนที่เรียกว่า “หน้ารองเท้า” หรือ upper และ
2. พื้นรองเท้า ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักที่ดี มีส่วนประกอบหลายชั้น เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน ได้แก่ พื้นรองเท้า ต้องมีความ แข็งแรง ทนทาน เพื่อปกป้องเท้า, แผ่นรองพื้น หรือ นิยมเรียกว่า “เต้” ทำหน้าที่ยึดระหว่างหน้ารองเท้าและตัวพื้น และชั้นสุดท้าย คือ ฟองน้ำ เพื่อเพิ่มความนุ่มสบายระหว่างสวมใส่
โดยการจะทำรองเท้าออกมาได้คู่หนึ่ง ต้องผ่านการออกแบบวาดแพทเทิร์นเหมือนกับการวาดแพทเทิร์นเสื้อผ้า เพื่อใช้เป็น ต้นแบบในการผลิตจริงก่อน แต่ด้วยลักษณะของรองเท้าที่เป็นรูปทรงสามมิติ ไม่เหมือนเสื้อผ้าที่เป็นสองมิติ ขั้นตอนการสร้างแพทเทิร์น ของรองเท้า จึงมีขั้นตอนพิเศษกว่าการออกแบบวาดรูปอยู่บนกระดาษเฉยๆ ซึ่งเครื่องมือส าคัญที่จะช่วยสร้างแพทเทิร์นรองเท้าแต่ละ แบบขึ้นมาได้ ก็คือ หุ่นรองเท้านั่นเอง
หุ่นรองเท้า จะทำาหน้าที่เป็นต้นแบบกำหนดขนาด หรือ size รวมถึงรูปแบบรองเท้าในลักษณะต่างๆ เช่น รองเท้าแตะ รองเท้า หุ้มข้อส้นเตี้ย (flat shoes) รองเท้าส้นสูง รองเท้าบูธ รองเท้าผู้ชาย ฯลฯ ซึ่งรูปทรงแต่ละแบบ แต่ละไซส์ ต้องใช้หุ่นรองเท้าที่แตกต่างกัน ไปในการสร้างแพทเทิร์น
รู้แหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์รองเท้า
เมื่อถึงรู้ขั้นตอนการผลิตรองเท้าคร่าวๆ แล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องรู้ คือ แหล่งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นรองเท้าคู่หนึ่ง ซึ่งแหล่งขายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับรองเท้าแหล่งใหญ่นั้นอยู่ที่ย่านเจริญรัถ แถววงเวียนใหญ่ เป็นที่รู้กันดีว่าหากใครคิดอยาก ผลิตรองเท้า หรือทำเครื่องหนังต่างๆ ต้องมาที่นี่ มีให้เลือกครบตั้งแต่หุ่นรองเท้า หนังแท้ หนังเทียม ผ้าอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ที่จะ นำมาใช้ทำาหน้ารองเท้า ไปจนถึงพื้นรองเท้า เป็นอีกแหล่งที่ผู้เริ่มต้นทำรองเท้าควรไปเดินศึกษาดู
แต่หากธุรกิจเติบโตขึ้นมาระดับหนึ่ง หรืออยากได้รูปแบบรองเท้าที่มีความเฉพาะเจาะจงในแบรนด์ของตัวเอง นอกเหนือจากที่เจริญรัถผู้ประกอบการยังสามารถตามหาโรงงานผลิต เพื่อผลิตชิ้นส่วนต่างๆ นำมาใช้เองได้ด้วย เช่น โรงงานผลิตหุ่นรองเท้า โรงงานผลิตพื้นรองเท้า ซึ่งสามารถเสิร์ชหาได้ไม่ยากจากในอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะสามารถสร้างจุดเด่นหรือ เอกลักษณ์ให้กับรองเท้าได้ด้วย ลงทุนผลิตเอง หรือจ้าง OEM ดี อีกสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเลือก คือ รูปแบบการผลิต ซึ่งมีให้เลือก 2 วิธี คือ
1.การจ้างช่างฝีมือ เพื่อลงทุนผลิตเอง
2. การจ้างโรงงานผลิตให้แบบครบวงจร หรือที่เรียกว่าOEM
ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป การเริ่มต้นจากจ้างผลิต OEM อาจสะดวกและง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจ เนื่องจากมีผู้ชำานาญกว่ามาช่วยดูแลการผลิตให้ สามารถบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ไม่ต้องไปตามหาแหล่งผลิตต่างๆ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องปวดหัวกับการดิวกับช่างโดยตรง แต่การใช้ OEM ต้องใช้เวลาผลิตนาน เนื่องจากไม่ได้มีเราเจ้าเดียวที่จ้างผลิต บางครั้งหากเผื่อสต็อกไม่ดี อาจไม่ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ยังไม่นับ รวมราคาการผลิตที่สูงกว่าการลงทุนผลิตเองแน่นอน ในส่วนการจ้างช่างผลิตเอง อาจมีความยุ่งยากกว่าในการจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่การเลือกซื้อวัสดุ การพูดคุยกับช่าง ผลิต การควบคุมคุณภาพ แต่อาจทำให้ผู้ประกอบการได้รายละเอียดรองเท้าที่ตรงใจกว่า หากมีแบบอะไรใหม่ๆ ก็สามารถให้ลองขึ้น ตัวอย่างได้ในทันที รวมถึงยังสามารถผลิตงาน แก้ไขงานเฉพาะหน้าได้อีกด้วย เช่น บางครั้งลูกค้าสั่งออร์เดอร์พิเศษมา ก็สามารถทำได้ ในทันที
เริ่มต้นขายยังไงดี
เมื่อผลิตรองเท้าสวยๆ ออกมาได้แล้ว ก็ต้องขายได้ด้วย แล้วจะเริ่มต้นขายอย่างไรดี คุณปวีณา ทัศนาเสถียรกิจ และ คุณเขมกร คำสุกสีกุล เจ้าของแบรนด์รองเท้า NOVEM รองเท้าแฟชั่นหนังแท้สำหรับสตรี เล่าถึงประสบการณ์การเริ่มต้นทำธุรกิจรองเท้าให้ฟังว่า “ตอนแรกเราเริ่มต้นจาก 4 แบบก่อน คือ ส้นสูง รองเท้าแตะ และแฟลตชู หรือรองเท้าส้นเตี้ยอีก 2 แบบ แต่ละแบบมี ประมาณ 3 - 5 สี รวมแล้วประมาณ 17 แบบ หรือเรียกว่า 17 SKU ไซส์ตอนแรกที่ท ามี 7 ไซส์ คือตั้งแต่ 35 - 41 ตอนหลังเพิ่มมาอีก 2 ไซส์ คือ 34 กับ 42 จะมีติดไว้สีละคู่ คือ คนกลุ่มนี้หารองเท้ายาก แต่ถ้าเจอไซส์ที่ใส่ได้ เขาก็จะเอาเลย ปกติจะสั่งผลิต 2 - 3 คู่ต่อ1 ไซส์ 1 แบบต่อ 1 สี แต่ไซส์ขายดีอย่าง 37 -39 จะมีเผื่อไว้ 3 คู่ สรุป คือ รองเท้า 1 แบบต่อ 1 สีจะผลิตไว้ประมาณ 17 -20 คู่ให้ลูกค้าเลือก ซึ่งการจัดท าสต็อก ถือเป็นปัญหาหนึ่งสำหรับการทำรองเท้า ต้องจัดการสต็อกดีๆ ไม่เช่นนั้นอาจไม่เพียงพอหรือเกิดสต็อกจมได้ วิธีคิดนี้ ได้มาจากตอนเริ่มแรกที่รับรองเท้ามาขาย จึงทำให้รู้ว่าไซส์ไหนขายดี ลูกค้าชอบรองเท้าทรงไหน เป็นข้อดีที่เราได้ลองตลาดมาก่อน ซึ่ง รองเท้าของเราจะมีเอกลักษณ์ คือ หัวแหลม แต่เป็นหัวแหลมที่ค่อนข้างกว้างใส่แล้วไม่บีบหน้าเท้า นี่คือ ลักษณะพิเศษของ NOVEM เลย สำหรับคนเริ่มต้นเปิดร้านอยากให้มีสัก 4 แบบ ประมาณ 200 คู่ เป็นจำนวนที่เราคิดว่าค่อนข้างโอเค ดูน่าสนใจ ถ้ามีน้อย เกินไป อาจไม่ได้รับความสนใจ แต่ทั้งนี้อาจต้องมีประสบการณ์ทดลองตลาดมาก่อนว่าแบบที่จะผลิตออกไป เป็นที่ต้องการของตลาดไหม ส่วนใหญ่เราจะขายผ่านช่องทางป๊อบอัพสโตร์ เพื่อพบลูกค้าโดยตรงและออนไลน์ด้วย เรายังไม่มีหน้าร้าน เพราะมองว่าค่าใช้จ่าย ค่อนข้างสูง และเป็นการผูกมัดการขายอยู่กับพื้นที่พื้นที่เดียว แต่ป๊อบอัพสโตร์เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง และท าให้แบรนด์เป็นที่ รู้จักได้มากขึ้น รองเท้าจะไม่เหมือนสินค้าอื่นที่ตัดสินใจซื้อได้ง่ายเหมือนเสื้อผ้า ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ เขาต้องทดลองให้ดีว่าสามารถใส่ ได้หรือเปล่า แรกๆ เขาอาจยังไม่กล้าตัดสินใจซื้อเรา แต่พอลองแล้วใส่ได้ดี วันหลังเขาก็ซื้อได้ง่ายๆ เลย บางคนสั่ง 4-5 คู่ต่อแบบ คละสี กันไป ผู้หญิงจะเป็นแบบนี้ ถ้าเจอคู่ไหนใส่ได้ดี ชอบถูกใจ ก็จะซื้อทีเดียวหลายคู่ เอาไว้ใส่เปลี่ยนกับชุดต่างๆ”
https://oss.sme.go.th/oss/imgupload/20171123095002143%20เรื่องที่ต้องรู้...ก่อนคิดเป็นเจ้าของธุรกิจรองเท้า.pdf
ที่มา นิตยา สุเรียมมา ผู้เขียน จาก www.smethailandclub.com วันที่ 1 กรกฎาคม 2017 ดูข้อมูล