วิชาชีพอิสระ เป็นอาชีพเงินได้ประเภทที่ 6 หรือ เงินได้ 40(6) คือเงินได้พึงประเมินในรูปของค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ที่มีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การจ้างบริการวิชาชีพอิสระ โดยผู้จ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% และผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปีเช่นเดียวกับอาชีพฟรีแลนซ์
ทั้งนี้ วิชาชีพอิสระมีความคล้ายอาชีพฟรีแลนซ์ ที่มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นกับบริษัท แต่จะต้องเป็นอาชีพที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง และถูกกำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งได้แก่
- แพทย์และพยาบาลประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์
- ประณีตศิลป์ เช่น งานวาด งานหล่อ งานปั้น
- สถาปนิก เช่น งานออกแบบ
- วิศวกร เช่น งานออกแบบ
- นักบัญชี เช่น ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี โดยบริษัทจำนวนมาก ต้องให้นักบัญชีช่วยทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีให้ เพื่อรายละเอียดที่ถูกต้องก่อนยื่นส่งสรรพากร
- ทนายความ เช่น ที่ปรึกษา ว่าความ
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับวิชาชีพอิสระ
ผู้มีรายได้สามารถเลือกหักได้ 2 แบบคือ หักตามจริงแต่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายอยู่ครบทั้งหมด หรือเลือกหักแบบเหมา 30-60% ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย ซึ่งแบ่งตามกลุ่มวิชาชีพอิสระดังนี้
- การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ของค่าตอบแทนที่เรียกเก็บ หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
- วิชาชีพอิสระอื่นๆ ที่ไม่ใช่การประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30% ของค่าตอบแทนที่เรียกเก็บ หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
ที่มา TaxBugnoms
24 April 2023
View
32,490