-
-
ข่าวสาร
-
HRM
-
ฝนตก รถติด มาทำงานสาย เจ้านายหักเงิน ได้ไหมนะ ??
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76
“ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด”
การมาทำงานตรงเวลา เป็นการแสดงความเป็นมืออาชีพและความทุ่มเทให้กับงาน การตรงต่อเวลาช่วยรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกและช่วยให้มั่นใจว่างานต่างๆ จะเสร็จสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพ การตรงต่อเวลาสะท้อนถึงจรรยาบรรณในการทำงานและความน่าเชื่อถือของคุณได้ดี
หากการตรงต่อเวลาเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ การวางแผนกำหนดการล่วงหน้า ตั้งระบบเตือนความจำ และเผื่อเวลาไว้สำหรับความล่าช้าที่ไม่คาดคิดอาจเป็นประโยชน์ เตรียมสิ่งของของคุณเมื่อคืนก่อน หรือค้นหาเส้นทางอื่นไปยังที่ทำงานของคุณ หากเป็นไปได้ ให้แจ้งหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานของคุณเกี่ยวกับความล่าช้า จำไว้ว่าการสื่อสารและรับผิดชอบต่อการกระทำของคุณจะดีกว่าเสมอ
ในส่วนคนที่มาสาย ก็มีกฎหมายคุ้มครองสำหรับคนมาสาย
- นายจ้างหักเงินค่าจ้าง จากเหตุมาสายไม่ได้ ผิดกฎหมายแรงงาน
- มาสาย 5 นาที จะมาลงว่ามาสาย 30 นาทีไม่ได้ สายเท่าไรลงเท่านั้นเพราะมันมีผลต่ออัตราเงินเดือน
- มาสาย 3 วันหัก 1 วัน แบบนี้ก็ทำไม่ได้ผิดกฎหมายแรงงาน
- มาสายแล้วไล่ออกเลยไม่ได้ ถ้าจะไล่ออกต้องทำหนังสือเตือนมาตามแต่ระเบียบของบริษัทจะประกาศไว้
- มาสายแล้วบังคับทำโอทีไม่ได้ โอทีคือความสมัครใจของลูกจ้างนะแจ๊ะ
- มาสายแล้วต้องโดนทำโทษ ไม่มีบทลงโทษทางร่างกายต่อคนมาสาย
แต่ทั้งนี้ นายจ้างก็อาจจะเลือกใช้สิทธิ No work No Pay คือไม่ทำงานก็ไม่จ่ายเงิน ซึ่งก็เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะทำได้ เช่น คำนวณสะสมระยะเวลามาสายในแต่ละเดือนว่ารวมแล้วกี่ชั่วโมงเพื่อมาคำนวนเวลาที่หายไปของลูกจ้างต่ออัตราค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมง เป็นต้น
ที่มา เพจทนายคู่ใจ
04 September 2023
View
1,405