ลูกจ้างขอลาไปจัดงานศพมารดาแต่ ผู้จัดการ /นายจ้าง ไม่อนุมัติแต่ก็ยังหยุดงานไป
การใช้สิทธิลาเช่นนี้ถือว่าเป็นใช้สิทธิลาอันเนื่องมาจากมีกิจธุระอันจำเป็นตามระเบียบข้อบังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งรับรองคุ้มครองสิทธิไว้อย่างชัดเจน ถือว่าลูกจ้างใช้สิทธิโดยชอบด้วย ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง จึงไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่ ขาดงาน จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง อันจะนำมาเป็นเหตุลงโทษทางวินัยได้
ถ้าลงโทษวินัยไป (เช่น ออกหนังสือเตือน) ก็ไม่ชอบ เช่นกัน
ถ้าเลิกจ้างก็ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง (หากอายุงาน ๑๒๐ วันขึ้นไป)
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๑๔๔๙/๒๕๖๐
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมเรื่องสิทธิการลาเพื่อจัดพิธีฌาปนกิจศพ
สืบเนื่องจากสังคมไทยยึดถือคุณธรรมในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา บรรพบุรุษ สังคมแรงงานก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ สถานประกอบกิจการบางแห่ง จึงกำหนดไว้ในระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับฯ ของนายจ้าง ให้ลูกจ้างมีสิทธิขอลาหยุดงานไปจัดพิธีฌาปนกิจหรืองานศพของบิดามารดา บุตร สามี ภริยา ของลูกจ้าง
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น แยกต่างหากจากสิทธิลาไปจัดการงานศพ ดังกล่าว ผลการกำหนดให้สิทธิลาไปจัดงานศพ ของลูกจ้าง ดังกล่าว แสดงว่านายจ้างมีเจตนาแยกออกจากสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น และเมื่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ปี 2562 ที่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นให้ลูกจ้างมีสิทธิลาได้อย่างน้อย 3 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง อันเป็นผลให้นายจ้างอาจจะต้องไปกำหนดไว้ในข้อบังคับฯ
ฉะนั้น นายจ้างก็จะไปแก้ไขยกเลิกสิทธิลาไปจัดงานศพบุคคลในครอบครัวของลูกจ้าง ไม่ได้ เพราะไปริดรอนสิทธิการลาหยุดงานของลูกจ้างเดิมลง
ขอขอบคุณที่มา
Facebook อาจารย์ Narongrit Wannaso
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3