สวัสดิการของลูกจ้าง outsource

ลูกจ้างที่เป็น outsource ต้องได้สิทธิและประโยชน์ และสวัสดิการเหมือนลูกจ้างโดยตรงของสถานประกอบกิจการที่เข้าไปทำงาน

แต่ต้องได้ความว่าการเข้าไปทำงานนั้นจะต้องเป็นการทำงานอันเป็นส่วนหนึ่งของ "กระบวนการผลิต"

เบื้องต้นจึงต้องดูว่ากระบวนการผลิตมีขั้นตอนตั้งแต่ input - in process - out put คืออะไร

ตัวอย่างการทำงานอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต

ฎีกาที่ ๓๖๕๙-๓๖๗๕/๒๕๖๑

เจ้าของสถานประกอบกิจการผลิตรถยนต์ มีกระบวนการตั้งแต่การขึ้นรูปตัวถังรถ ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ เช่น ประกอบตัวถังรถยนต์ ไปจนเป็นรถยนต์สำเร็จรูป จากนั้นก็ทำการตรวจสอบรถยนต์เพื่อให้ได้มาตรฐาน แล้วจัดเก็บรถยนต์เป็นขั้นตอนสุดท้าย

ลูกจ้างซึ่งเป็น outsource ทำงานในหน้าที่ลงรถเคลือบฟิล์มกันกระแทก แล้วขับรถไปไว้ในโกดังสินค้า ตรวจสอบด้วยตาเปล่าและบันทึกการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ ถือว่าเป็นการทำงานในกระบวนการผลิต

ดังนั้น ลูกจ้างที่เป็น outsource ทำงานอยู่ในขั้นตอนหรือกระบวนการผลิตหรือบริการนั้น กฎหมายให้ถือว่ามีนายจ้าง ๒ คน คือ

๑) นายจ้างคนที่ส่งเข้าไปทำงาน

๒) เจ้าของสถานประกอบกิจการ

โดยนายจ้างตามข้อ ๒) ที่เป็นเจ้าของกิจการนั้นจะต้องดำเนินการให้ลูกจ้างที่เป็น outsource ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติระหว่างลูกจ้างที่เป็น outsource กับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของเจ้าของสถานประกอบกิจการ (ตาม ม.๑๑/๑)

 

ที่มา เพจ กฎหมายแรงงาน