สำหรับคนทำงานประจำ ท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า ประกันสังคม เป็นอย่างดี และอาจจะยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของประกันสังคม ซึ่งประกันสังคมเปรียบเสมือนเป็นหลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต แล้วยังมีสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ให้กับคนทำงานได้มากมายอีกด้วย สำหรับการนำส่งเงินสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องนำส่งข้อมูลประกันสังคมทุกเดือน หากไม่ดำเนินการก็จะมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ปัจจุบันในการนำส่งข้อมูลให้ประกันสังคมจะมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ท่านรวบรวมยอดเงินพนักงานที่จะนำส่ง และ ช่วยในการยื่นส่งประกันสังคมได้สะดวกมากขึ้น สำหรับโปรแกรมเงินเดือน Bplus HRM จะครอบคลุมการใช้งานได้แบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณที่ถูกต้องแม่นยำ และ นำส่งข้อมูลได้ทันทีหลังจากคำนวณเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนำส่งแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก บทความนี้จะมาแนะนำข้อมูลเบื้องต้นของประกันสังคม และวิธีการเตรียมข้อมูลและตั้งค่าในโปรแกรมเงินเดือน Bplus HRM ได้อย่างไรบ้าง
1. ประกันสังคมคืออะไร
สำหรับประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงานจนไปถึงเกษียณอายุ
2. สิ่งที่ผู้ประกันตนได้รับสิทธิในการเข้าประกันสังคม
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนต้องได้รับจากระบบประกันสังคม เมื่อเจ็บป่วย ประสบอันตราย ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต โดยไม่ได้เกิดจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน โดยสิทธิประกันสังคมทั้งหมดที่ผู้ประกันตนควรรู้ไว้ มีดังนี้
2.1 กรณีคลอดบุตร : สามารถเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
2.2 กรณีสงเคราะห์บุตร : ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1 คน แต่บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 6 ปี และเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน
2.3 กรณีอันตรายหรือเจ็บป่วย : สามารถได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่เลือกเองได้ฟรี และขอรับทดแทนอีก 50% ของเงินเดือน ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือนต่อปี เว้นแต่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เกิน 180 วัน แต่ไม่เกิน 365 วัน นอกจากนั้นยังสามารถขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี
2.4 กรณีทุพพลภาพ : ได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ส่วนกรณีผู้ป่วยใน เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล กรณีผู้ป่วยนอกเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ส่วนกรณีผู้ป่วยใน จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRG) ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
- ค่าพาหนะรับส่ง เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
- เงินทดแทนการขาดรายได้เป็นรายเดือน กรณีระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ร้อยละ 30 ของค่าจ้างตามมาตรา 57 ตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถประกอบการงานได้แต่ไม่เกิน 180 เดือน ส่วนกรณีระดับความสูญเสียรุนแรง ร้อยละ 50 ของค่าจ้างตามมาตรา 57 เป็นรายเดือนตลอดชีวิต
2.5 กรณีว่างงาน : สามารถขอรับเงินเดือนจากประกันสังคมได้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 6 เดือนต่อปี แต่ถ้าหากผู้ประกันตนลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ไม่ว่าจะเป็น อัคคีภัย วาตภัย ธรณีพิบัติ ภัยธรรมชาติอื่นๆ การระบาดของโรคติดต่ออันตราย ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน จะได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน
2.6 กรณีชราภาพ : ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปี จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่สมทบบวกกับผลประโยชน์จากการลงทุน ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่เกษียณอายุ โดยมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และส่งเงินสมทบตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับบำนาญเดือนละ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย และบวกเพิ่มให้อีกเดือนละ 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 5 ปีสุดท้ายสำหรับทุกๆ 1 ปีเต็มที่ได้ส่งเงินสมทบเกินกว่า 15 ปี
2.7 กรณีเสียชีวิต : ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท ให้แก่ผู้จัดการศพ นอกจากนั้น หากผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้ว ตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์แก่ทายาท เป็นจำนวน 4 เท่าของร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และหากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินเป็นจำนวน 12 เท่าของร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยเงินสมทบประกันสังคมสามารถใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ตามการจ่ายจริง เช่น จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทครบ 12 เดือน สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ 9,000 บาท โดยในปี พ.ศ. 2566 ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 9,000 บาท
3. เมื่อไรที่นายจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม
- นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน
- เมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน
- เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
สำหรับการแจ้งขึ้นทะเบียนพนักงานและการแจ้งลาออก ให้กับประกันสังคม จะมีทั้งหมด 3 หัวข้อ ดังนี้
1. กรณีพนักงานเข้าใหม่ และไม่เคยสมัครประกันสังคม (สปส.1-03)
2. กรณีพนักงานเข้าใหม่ และเคยสมัครประกันสังคมแล้ว (สปส.6-08)
3. กรณีพนักงานลาออกจากงาน (สปส.6-09)
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบ, การบันทึกข้อมูล และ การนำส่งข้อมูลต่างๆ ของพนักงานผ่านทาง Online ในโปรแกรมเงินเดือน Bplus HRM จะมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ดังนี้
1. พนักงานเข้าใหม่ และไม่เคยสมัครประกันสังคม (สปส.1-03) : โปรแกรม Bplus HRM จะมีเมนูสำหรับการเตรียม File ข้อมูลสำหรับส่ง Online ตามรูป
- หน้าจอ งานเงินเดือน > หน้าจอ ผลการคํานวณเงินเดือน > คลิก เมนูเตรียมดิสก์ > เลือก ดิสก์ส่งทะเบียนพนักงานใหม่สำนักงานประกันสังคม (สปส.1-03)
2.พนักงานเข้าใหม่ และเคยสมัครประกันสังคมแล้ว (สปส.6-08) : โปรแกรม Bplus HRM จะมีเมนูสำหรับการเตรียม File ข้อมูลสำหรับส่ง Online ตามรูป
- หน้าจอ งานเงินเดือน > หน้าจอ ผลการคํานวณเงินเดือน > คลิก เมนูเตรียมดิสก์ > เลือก ดิสก์ส่งทะเบียนพนักงานย้ายงานสำนักงานประกันสังคม (สปส.6-08)
3. กรณีพนักงานลาออกจากงาน (สปส.6-09) : โปรแกรม Bplus HRM จะมีเมนูสำหรับการเตรียม File ข้อมูลสำหรับส่ง Online ตามรูป
- หน้าจอ งานเงินเดือน > หน้าจอ ผลการคํานวณเงินเดือน > คลิก เมนูเตรียมดิสก์ > เลือก ดิสก์ส่งทะเบียนพนักงานลาออกสำนักประกันสังคม (สปส.6-09)
4. การเตรียมดิสก์นำส่งสำนักงานประกันสังคม
การเตรียมดิสก์นำส่งสำนักงานประกันสังคม เป็นการส่งออกข้อมูลเงินสมทบตามรูปแบบที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด เพื่อนำส่งให้กับสำนักงานประกันสังคมแทนการส่งเป็นเอกสาร โดยจะต้องนำส่งไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- หน้าจอ งานเงินเดือน > หน้าจอ ผลการคำนวณเงินเดือน > คลิก เมนูเตรียมดิสก์ > เลือก ส่งสำนักงานประกันสังคม
สรุปสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนควรรู้
สำหรับข้อมูลสิทธิประกันสังคมที่แจ้งไว้ ทางผู้ประกันตนจะทราบสิทธิประกันสังคมทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง และได้รับสิทธิอะไรกันบ้าง เพื่อที่จะเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ในอนาคตได้ และ ช่วยให้ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิที่มีอยู่ได้ถูกต้อง ตามเงื่อนไขต่างๆ ของสำนักงานประกันสังคมได้
วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง
สำหรับผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ด้วยตนเอง โดยทางประกันสังคมจะมีช่องทางให้ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วได้ ทำให้เราไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานประกันสังคมด้วยตัวเอง สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้ โดยวิธีเช็คสิทธิประกันสังคมนั้น มี 2 ช่องทาง ได้แก่
- การเช็คสิทธิประกันสังคมผ่านเว็ปไซต์ www.sso.go.th
- การเช็คสิทธิประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยสามารถ Download ได้ทั้ง Play Store กับ App Store
หมายเหตุ : ถ้าหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ www.sso.go.th หรือ ติดต่อสายด่วนประกันสังคมได้ที่เบอร์ 1506