ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คาดว่าเพื่อนๆคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับฎีกาที่ว่าลูกจ้างตำแหน่ง call center ด่าลูกค้าว่า
“ควาย” แม้ลูกค้าจะไม่ได้ยินเพราะวางสายไปแล้ว ก็ถือเป็นผิดวินัยร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (ฎีกาที่ 3895/2557)
ตามฎีกาดังกล่าว ศาลมองว่า เมื่อบริษัทประกอบธุรกิจให้บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) ดังนั้นมารยาทของพนักงานของบริษัทจึงเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบกิจการตามหน้าที่การงานของพนักงาน การที่พนักงานด่าลูกค้าว่า"ควาย" นั้น แม้ว่าลูกค้าไม่ได้ยิน แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นการใช้กิริยาวาจาหยาบคาย ก้าวร้าว ดูหมิ่น เหยียดหยาม ล่วงเกินลูกค้าในเวลาทำงานและในบริเวณบริษัท และเมื่อพิจารณาจากถ้อยคำที่พนักงานพูดคุยกับลูกค้า ก็ไม่ปรากฏว่าลูกค้าพูดจาหยาบคาย หรือดูหมิ่นพนักงานในทางเสียหายก่อน ดังนั้น ในกรณีดังกล่าว ศาลจึงมองว่าการกระทำของพนักงานคนดังกล่าวเป็นการกระทำที่ร้ายแรงอันเป็นความผิดตามวินัยและการลงโทษทางวินัยของบริษัท บริษัทย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ไม่ว่าจะทำงานในธุรกิจบริการประเภทไหนก็ตามการควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ ดังคำเขาว่า "ควบคุมอารมณ์ได้เราก็จะเป็นนายชีวิต"
ที่มา: เพจ คลีนิกกฎหมายแรงงาน
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน
ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม
ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง
เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้
เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่
เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่
เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?
เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่
“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?