ค่าตกใจ ... จ่ายยังไง

          ค่าตกใจ หรือค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่จ่ายเมื่อมีการเลิกจ้าง ในสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เงินค่าตกใจ ในกรณีของการที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้า หรือบอกล่วงหน้า 30-60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน 

ตัวอย่าง นายจ้างจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 1 ของเดือน

          โดยปกตินายจ้างจะบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่จ่ายเงินเดือน แต่ตามกฎหมายสามารถบอกกล่าวก่อนวันจ่ายเงินเดือนก็ได้ จากนั้นต้องให้มีระยะเวลา 1 เดือนคั่นกลาง แล้วเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป แต่ถ้านายจ้างต้องการให้ออกจากงานไปเลยก็สามารถทำได้ด้วยการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

          หากการจ่ายค่าจ้างคือทุกวันที่ 1 ของเดือน หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ นายจ้างจะต้องบอกกล่าว "ช้าสุด" ในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้าง แต่หากนายจ้างบอกกล่าววันที่ 15 มกราคม หากต้องการให้ออกจากงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ จะมีระยะเวลาไม่ครบ 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง ผลจึงทำให้การบอกกล่าวกรณีนี้จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ในวันที่ 1 มีนาคม หากนายจ้างต้องการให้ออกจากงานทันทีในวันที่ 15 มกราคม นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

          สมมติว่าลูกจ้างได้จ่าจ้างเดือนละ 30,000 บาท หากต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ จะต้องบอกกล่าวในวันที่ 1 มกราคมช้าสุด หากให้ออกทันทีในวันที่ 1 มกราคม และให้ออกทันทีจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 30,000 บาท

          แต่หากบอกกล่าววันที 15 มกราคม จึงมีผลให้การเลิกจ้างคือวันที่ 1 มีนาคม เพราะหากให้ออกจากงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ระยะเวลาการบอกกล่าวจะไม่ครบหนึ่งรอบการจ่ายค่าจ้าง และหากให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีในวันเลิกจ้างคือวันที่ 15 มกราคม ก็จะต้องจ่ายค่าจ้าง 45,000 บาท

คือต้องจ่ายเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือนครึ่ง โดยกฎหมายแรงงานกำหนดให้ 1 เดือนมี 30 วัน(คำพิพากษาฎีกาที่ 4105/2561)

 

ที่มา กฎหมายแรงงาน