การลาป่วยโดยที่หมอนัดเป็นการรู้ล่วงหน้าถือว่าลาป่วยหรือไม่
พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๒ เป็นบทบัญญัติที่ กำหนดให้ลูกจ้างลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยการลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดง ใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ
ทั้งนี้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ได้มีการกำหนดนิยามคาว่า “วันลาป่วย” หรือ “ป่วย” ไว้
จึงต้องพิจารณาความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งได้ให้ความหมายของคาว่า “ป่วย” หมายถึง รู้สึกไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้ หรือเหตุอื่นใดที่ทาให้รู้สึกเช่นนั้น
ทั้งนี้ประกอบกับกฎหมายมีเจตนารมณ์ ในการกำหนดวันลาป่วยเพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสหยุดพักรักษาตัวในขณะที่เจ็บป่วย เพื่อให้สุขภาพฟื้นคืน สภาพเดิมพร้อมที่จะกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามปกติ
ยกตัวอย่างเคส ลูกจ้างป่วยเป็นโรคไตจะต้องรักษาโดยการฟอกไตตามที่แพทย์นัดโดยมีกำหนดสัปดาห์ละ ๓ วัน ทำให้ลูกจ้างต้องหยุดงาน ในวันที่ต้องไปฟอกไต ตามที่แพทย์นัดนั้น เป็นการลาเพื่อรักษาโรค เนื่องจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง และเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างขอลากับนายจ้าง โดยขณะนั้นลูกจ้าง ยังคงมีอาการเจ็บป่วย รู้สึกไม่สบายและสภาพร่างกายยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงเพราะอาการเจ็บป่วยจากโรคไต อันเป็นสาเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามปกติ
กรณีนี้วันลาดังกล่าวจึงถือว่า เป็นวันลาป่วยตามมาตรา ๓๒ แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งลูกจ้างสามารถขอลาป่วยกับนายจ้างได้ แต่ต้องเท่าที่ป่วยจริงเท่านั้น และเมื่อลูกจ้างได้ลาป่วยตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาป่วยแก่ลูกจ้างตามมาตรา ๓๒ เท่าอัตราค่าจ้าง ในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน ๓๐ วันทำงาน
ดังนั้น เมื่อการลาไปฟอกไต ตามแพทย์นัดถือเป็นวันลาป่วย ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างระหว่างวันลาป่วย แต่จะได้รับเพียง ๓๐ วันทำงาน ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
ข้อสังเกต
- คดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าขณะที่ลาป่วยนั้น ลูกจ้างมีอาการป่วยจริง จะแตกต่างกับกรณีลาไปตรวจสุขภาพ หรือลาไปติดตามอาการป่วย ซึ่งในขณะที่ลานั้นไม่แน่ว่าลูกจ้างยังมีอาการป่วยหรือไม่ ซึ่งไม่น่าจะลาป่วยได้
วิธีแก้ปัญหา แนะนำให้ลูกจ้างที่ไปตรวจสุขภาพ หรือไปติดตามอาการหากพบว่ามีอาการป่วยอยู่ ก็ควรขอใบรับรองแพทย์มายื่นกับนายจ้างเพื่อขอลาป่วย
- คดีนี้พอได้หลักว่าหมอนัดที่จะลาป่วยใด้ ต้องป่วยในขณะที่ลา ซึ่งเป็นลักษณะป่วยเรื้อรัง
ที่มา: ข้อหารือกองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๕/๑๖๐๔ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐
เรียงเรียงโดย : กฎหมายแรงงาน
เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ
ป่วยเบาๆก็ลาป่วยได้
อยู่ในช่วงทดลองงาน ลาป่วย นายจ้างหักเงินได้หรือไม่
ลาป่วยเท็จ นายจ้างจัดการอย่างไรดี
ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?
ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้