e-Signature VS Digital Signature คืออะไร? ใช้อันไหนดี?

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) กับ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คืออะไร ?
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) เป็นชุดข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ เสียง ที่ใช้ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) เพื่อแส่ดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้

e-Signature หรือ Digital Signature แบบไหนถึงจะมีผลทางกฎหมาย ?
มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และมีผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ

ทำไมต้องใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนการเซ็นบนกระดาษ ?
เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร ประหยัดค่าส่งเอกสาร มีผลทางกฎหมายเหมือนการเซ็นบนกระดาษ และยังลดการสัมผัส ลดความเสี่ยงโรคโควิด-19

เลือกใช้แบบไหนดี ระหว่าง e-Signature กัu Digital Signature ?
เลือกใช้แบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะทำธุรกรรมอะไรก็สามารถลงนามได้ด้วย ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามวัดถุประสงค์และพิจารณาตามความเสี่ยงของการนำไปใช้งาน กรณีต้องการความมั่นคงปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นคนลงนามและตรวจสอบได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังลงนามหรือไม่ ก็สามารถพิจารณาการใช้งานแบบ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)

การเขียนลายเซ็นบนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ถือว่าเป็น e-Signature ไหม ?
เป็น แต่จะมีผลตามกฎหมายรับรองก็ต่อเมื่อลายเซ็นที่ใช้ประกอบกับข้อความอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องตอบองค์ประกอบ 3 ข้อ ดังนี้

  • สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร
  • สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร
  • ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการเซ็น เช่น มีหลักฐาน พยาน หรือบุคคลที่ 3 ที่รับรองการเซ็น

กฎหมายอาจจะไม่ได้ระบุวิธีการลงนามที่ชัดเจน ผู้ใช้งานต้องพิจารณาตามวัตถุประสงค์และความเสี่ยงในการทำธุรกรรมนั้น ๆ หากมีครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อ ก็ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ตามที่กำหนดใน มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ฉบับแก่ไขเพิ่มเติม) แล้วนั้นเอง

ที่มา : www.etda.or.th