ใครบ้างที่ต้อง ยี่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ?
ผู้ที่ต้องยืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปิ (ภ.ง.ด. 94) คือ ผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน ของทุกปี (ไม่รวมรายได้จากงานประจำ) เกิน 60,000 บาทสำหรับกรณีโสด หรือในกรณีมีคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท
และจะต้องเป็นเงินได้ที่เข้าข่ายเงินได้ประเภทต่างๆ ต่อไปนี้
- เงินได้ประเภทที่ 5 (เงินได้ 40 (5)) คือ รายได้ที่มาในรูปแบบของค่าเช่า (ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ได้รับจากรัพย์สินใดๆ ก็ตาม), การผิดสัญญาเช่า เป็นต้น หากคุณมีรายได้ (มาตรา 40 (5) ประมวลรัษฎากร)
- เงินได้ประเภทที่ 6 (เงินได้ 40 (6)) คือ รายได้หรือค่าตอบแทนที่ได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ 6 อาชีพ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร,สถาปก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์ (มาตรา 40 (6) ประมวลรัษฎากร)
- เงินได้ประเภทที่ 7 (เงินได้ 40 (7)) คือ รายได้ที่มาในรูปแบบของค่ารับเหมาที่ผู้เสียภาษีต้องทำหน้าที่จัดหาเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ค่าเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และค่าของต่าง (ตามมาตรา 40 (7) ประมวลรัษฎากร)
- เงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8)) คือ เงินได้ที่ไม่ได้รับกรยกเว้ภาษี และไม่ถูกจัดให้อยู่ในงินได้ประเภทอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น รายได้ที่ได้รับจากขายของออนไลน์, เปิดร้านอาหาร, กำไรที่ได้จากการของกองทุน LTF/RMF เป็นต้น (ตามมาตรา 40(8) ประมวลรัษฎากร)
ผู้มีเงินได้ |
มีเงินได้พึงประเมิน ตามาตรา 40(5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร (ม.ค. - มิ.ย.) |
ผู้ยื่นแบบ |
คนโสด |
เกิน 60,000 บาท |
ผู้มีเงินได้ |
คู่สมรสที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือสองฝ่ายรวมกัน |
เกิน 120,000 บาท |
ผู้มีเงินได้ |
กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง |
เกิน 60,000 บาท |
ผู้จัดการมรดก/ทายาท/ผู้ครอบครองมรดก |
ห้างหุ้นส่วนสามัญ |
เกิน 60,000 บาท |
ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการห้างหุ้นส่วนสามัญ |
คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล |
เกิน 60,000 บาท |
ผู้จัดการของคณะบุคคล |
วางแผนอย่างไรเพื่อลดภาษีครึ่งปี
การวางแผนเพื่อลดภาษีครึ่งปี เราสามารถใช้กองทุน LTF และ RMF มาเป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ค่ะ โดยยอดเงินลงทุนที่เราไปซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงกลางปีสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งจะช่วยลดภาระภาษีของเราไปได้พอสมควรเลยค่ะ แต่หากเรายังไม่ได้ลงทุนซื้อกองทุน LTF และ RMF เพราะมัวแต่รอลงทุนในช่วงปลายปี แบบนี้ก็จะไม่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้เลยล่ะค่ะ
ยื่นภาษีครึ่งปี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มั้ย?
สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคงปีนั้น ผู้เสียภาษีจะยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เหมือนเดิม เพียงแต่เงื่อนไขอาจจะแตกต่างกันไปสักเล็กน้อย โดยแบ่งค่าลดหย่อนได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม 1 กลุ่มที่ลดหย่อนได้ตามปกติ
1. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้นั้น จะต้องเป็นค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายในเดือนมกราคม - มิถุนายน (ในปีภาษีนั้นๆ และสามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (เมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท)
2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ตนเอง หรือค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
3. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนภาษีได้ครั้งละไม่เกิน 60,000 บา ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน ผู้เสียภาษียังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงในแต่ละปิภาษี แต่รวมกันลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
4. กองทุน SSF กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามรถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีที่ได้รับ และไม่เกิน 200,000 บาท
5. กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีกองทุน RMF ลดหย่อนภาษี ในกรณีที่คุณซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
6. เงินบริจาคลดหย่อนภาษีเงินบริจาคลดหย่อนภาษี สำหรับการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) แบ่งออกได้ 3 กรณี คือ
- บริจาคเงินแก่สถานศึกษา ก็ฬา และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
- บริจาคทั่วไป ให้ศาสนสถาน, องค์กรการกุศล สามรถหักลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอื่นๆ และเงินบริจาคพิเศษ
7. ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช. สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามยอดที่จ่ายจริงได้สูงสุด 13,200 บาท
8. ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2565 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30.000 บาท
9. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในกรณีที่คุณจ่ายเงินเพื่อร่วมลงหุ้น หรือ ลงทุนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
10. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
11. เงินบริจาคพรรคการเมืองเงินบริจาคพรรคการเมือง ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
กลุ่ม 2 กลุ่มที่ลดหย่อนได้น้อยกว่าปกติ
12. ค่าลดหย่อนส่วนตัวผู้เสียภาษีสามารถใช้หักลด ค่าลดหย่อนส่วนตัว ได้ 30,000 บาท (คลดหย่อนทั้งปี 60,000 บาท)
13. ค่าลดหย่อนคู่สมรส
- คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือ มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) - (4) สามารถหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
- กรณีคู่สมรสมีเงินได้มาตรา กรณีที่คู่สมรสมีเงินได้ ตามมาตรา 40 (5) - (8)
- กรณีรวมยื่นภาษี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนตัวได้ 30,000 บาท และสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนคู่สมรสได้30,000 บาท
- กรณีแยกยื่นภาษี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนตัวได้ 30000 บาท และจะไม่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้
14. ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท) โดยไม่จำกัดจำนวน บุตร แต่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้ในกรณีที่บุตรมีอายไม่เกิน 25 ปี ยังศึกษาในขั้นมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษาเท่านั้น แต่ถ้าเป็นบุตรคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิด พ.ศ. 2561 หรือหลัง พ.ศ. 2561 สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท) ส่วนกรณีบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)
15. ค่าลดหย่อนบิดามารดา ค่าลดหย่อนบิดามารดา สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท) และมีข้อแม้ว่า บิดา/มารดาจะต้องมีอาย 60 ปีขึ้นไป และต้องไม่มีเงินได้พึ่งประเมินในปีภาษีขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาท (บุตรบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้)
16. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)
17. ค่าเบี้ยประกันชีวิตค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันที่จายตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แบ่งออกเป็น
- ส่วนที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ครึ่งนึง แต่ไม่ต้องเกิน 5,000 บาท
- ส่วนที่จ่ายเกิน 10,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท
เช่น คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตในวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 จำนวน 100,000 บาท หากคุณยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 จะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 95,000 บาท ( 10,000 บาทแรกใช้ลดหย่อนภาษีได้ครึ่งหนึง คือ 5,000 บาท และลดหย่อนภาษีส่วนที่เกิน 10,000 บาท คือ 90 000 บาท เมื่อนำ 5,000 + 90,000 = 25,000 บาท )
ทั้งนี้หากคุณไม่ต้องการใช้สิทธิค่าเบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตอนที่นภาษีครึ่งปี (ภ. ง.ด. 94 เนื่องจากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตอนยื่นภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด. 90, 91) ก็สามารถทำได้
19. ค่าลดหย่อนประกันสังคมในกรณีที่คุณจ่าย เงินสมทบกองทุนประกันสังคม สำหรับปิภาษี 2565 สามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1,910 บาท (ปกติครึ่งจะใช้สิทธิลดหย่อนได้ 2,592 บาท) ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนแรกของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานในบริษัท หรือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แต่ออกจากงานมาแล้ว และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)
หมายเหตุ: ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ที่ไม่เคยเป็นพนักงานบริษัทไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นดามกฎหมายประกันสั่งคม และแน่นอนว่า ต้อง ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33หรือ 39 มาก่อน
กลุ่ม 3 กลุ่มที่ใช้ลดหย่อนครึ่งปีไม่ได้
20. ค่าลดหยอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในการยืนภาษีครึ่งปี ภ .ง.ด.94 ได้ จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี เท่านั้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรายได้จากงานประจำ
หมายเหตุ
- เนื่องจากเอกสารที่ใช้ยื่นภาษีครึ่งปี จะไม่ใช่ ภ ง.ด. 90, 91 ที่หลายคนคุ้นเคย แต่จะต้องยืนภาษีโดยใช้แบบฟอร์มภ.ง.ด. 94 ซึ่งผู้เสียภาษีสมารถดาวน์โหลแบบแสดงรายการภาษีได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
- ยื่นภาษีครึ่งปีแล้ว ต้องยื่นภาษีเงินได้ประจำปีด้วย แม้ว่าคุณจะทำการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี(ภ ง.ด. 94) แล้ว แต่คุณจะต้องทำการยื่นภาษีเงินได้ประจำปีด้วย ทั้งนี้การยื่นภาษีเงินได้ประจำปีนั้น คุณจะต้องทำการยื่นยอดรายได้ที่คุณมีตลอดทั้งปี ไม่ใช่การนรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเท่านั้น
ที่มา www.itax.in.th และ www.kasikornbank.com