ความรู้พื้นฐาน Structure of the Profit and Loss Statement
Income Statement หรือ งบกำไรขาดทุน ก็คือบันทึกการเงินของบริษัทนั้นว่าสร้างรายได้และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ( ซึ่งหลักๆก็เป็นรายไตรมาสไม่ก็รายปี ) และส่วนต่างของรายได้และค่าใช้จ่ายนี่ก็คือ กำไรสุทธิ (Net Profit) นั่นเอง แต่ถ้าติดลบก็คือขาดทุน ในต่างประเทศ Income Statement บางทีก็จะถูกเรียกว่า Statement of Operations หรือ Profit and Loss Statement หรือ Statement of Income
Income Statement เป็นงบการเงิน (financial statements) ประเภทหนึ่งจาก 3 ประเภทหลัก
Income Statement เพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุดสามารถเปรียบเทียบได้กับบันทึกรายรับรายจ่ายของเราเช่น
รายได้ (Revenue)
ค่าใช้จ่าย
- ค่าใช้จ่ายสำหรับที่พัก 10,000 บาท
- ค่าอาหาร 5,000 บาท
- ค่ามือถือ 300 บาท
กำไร / ขาดทุน (Net Profit)
เวลาเราวิเคราะห์บริษัทว่าบริษัทใหนน่าลงทุนก็มักจะดูที่ว่าเขาสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่องไหม และ กำไรเป็นอย่าไง รายได้เยอะแต่กำไรน้อยหรือเปล่า หรือว่าขาดทุน? ในกรณีบางครั้งเวลาเราเปรียบเทียบบริษัทใหญ่กับบริษัทเล็ก เราอาจจะเปรียบเทียบโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินเช่นเช่น Net Profit Margin หรือ Gross Profit Margin
ตัวอย่างบันทึกรายการที่จะเจอในงบกำไรขาดทุนมีอะไรบ้าง
A company’s statement of profit and loss is portrayed over a period of time, typically a month, quarter, or fiscal year.
The main categories that can be found on the P&L include:
- รายได้ (Revenue)
- รายได้จากการดำเนินธุรกิจ หรือ รายได้จากกิจกรรมหลัก (operating revenue หรือ revenue from operations)
- รายได้อื่นๆ หรือ รายได้จากกิจกรรมรอง (non operating revenue หรือ Other Income)
- ต้นทุน (Costs)
- กำไรขั้นต้น
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling And Administrative Expenses หรือ Selling, General and Administration หรือ SG&A)
- ค่าใช้จ่ายอื่น (Other Expenses)
- กำไรจากการดำเนินงาน
- ดอกเบี้ยรับ/(จ่าย) หรือ ต้นทุนทางการเงิน
- กำไร (ขาดทุน) พิเศษ
- ภาษีเงินได้
- กำไรสุทธิ
และไม่เสมอไปที่ทุกบริษัทจะมีจำนวนรายการบันทึกเหมือนกัน แต่หัวใจหลักคือทุกบริษัทจะเริ่มต้นด้วย รายได้ และ จบด้วย กำไรสุทธิ ระหว่างนั้นก็จะมีรายการที่แตกต่างกันไปบ้างแล้วแต่อุตสาหกรรมของบริษัทนั้น
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบง่ายๆ ตามประมวลรัษฏากรกำหนดให้ไว้ 4 วิธี นั่นคือ
-
กำไรสุทธิ (มาตรา 65)
-
รายได้ก่อนหักรายจ่าย (มาตรา 67)
-
เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
-
จำหน่ายกำไรออกนอกประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ)
วิธีที่คุ้นเคยที่สุดคือกำไรสุทธิ โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษีของกิจการ ซึ่งคำนวณจากการปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีตามนี้
กำไร (ขาดทุน) ทางภาษี = กำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี + รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ + รายจ่ายต้องห้าม – รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น – รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น
โดยรายการปรับปรุงแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
1) รายได้ที่ถือเป็นรายได้ทางภาษี คือ รายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่ต้องถือเป็นรายได้ทางภาษี
2) รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น คือ รายได้ที่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ แต่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี
3) รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางหลักภาษี
4) รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น คือ รายจ่ายที่ทางภาษีกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี
กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และ กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี มีความแตกต่างกันอย่างไร
เรามักคุ้นชินกับงบกำไรขาดทุน ที่แสดงรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย เท่ากับ กำไร (ขาดทุน) แต่มีรายได้ และค่าใช้จ่ายประเภทที่สรรพากรไม่ยอมรับ หรือได้รับการยกเว้นอีกหลายรายการ
กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี คือ กำไรขาดทุนที่แสดง ที่ในงบกำไรขาดทุน มาจาก รายได้ทางบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางบัญชี
กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษี คือ กำไรขาดทุนที่ใช้ในการคำนวณภาษีมาจาก รายได้ ทางภาษีหักด้วยค่าใช้จ่ายทางภาษี
โดยกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชีและทางภาษีมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ รายได้บางรายการ หลักการบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่หลักภาษีอากรถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะสูงกว่ากำไรทางบัญชี เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น
2) รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น รายได้บางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายได้ แต่หลักภาษีอากรจะไม่ถือเป็นรายได้ มีผลทำให้กำไรทางภาษีจะต่ำกว่ากำไรทางบัญชี เช่น ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ เงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เป็นต้น
3) รายจ่ายต้องห้าม รายจ่ายบางรายการ หลักการบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่หลักภาษีอากรไม่ถือเป็นรายจ่าย มีผลกำไรทางบัญชีจะต่ำกว่ากำไรทางภาษี เช่น ค่าเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา เป็นต้น ตาม ม.65 ตรี (6) รายจ่ายต้องห้าม
4) รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายบางรายการ หลักภาษีอากรกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี มีผลทำให้กำไรทางภาษีต่ำกว่ากำไรทางบัญชี เช่น เงินบริจาคให้แก่สถานศึกษา เงินส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และนันทนาการ เป็นต้น
ที่มา tax.bugnoms.com และ thewannabeinvestor.com
ซึ่งรายการดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์กรมสรรพากร “วิธีกรอกใบแนบรายได้ที่รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิ์หักได้เพิ่มขึ้น”