หลักการบัญชีของกิจการ สำหรับการบัญชีป้องกันความเสี่ยง (Hedge Accounting)
มาทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าอะไรคือ Hedge item หรือ Hedge instrument ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (“TFRS 9”) ได้กำหนดวิธีการทาง บัญชีสำหรับรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง (Hedge item) และเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging instrument)
การบัญชีป้องกันความเสี่ยง (Hedge Accounting) การบัญชีป้องกันความเสี่ยงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลกระทบใน งบการเงิน ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงของกิจการที่ใช้ เครื่องมือทางการเงินในการจัดการฐานะเปิดจากความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อกำไรหรือขาดทุน (หรือกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในกรณี การลงทุนในตราสารทุนที่กิจการเลือกที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่า ยุติธรรมในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น) วิธีการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะแสดง ถึงบริบทของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงภายใต้การบัญชีป้องกันความเสี่ยง
ความเสี่ยงคืออะไร
บริษัท ก จำกัด ขายสินค้าให้ลูกค้าในต่างประเทศ โดยกำหนดราคาเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ (USD) เป็นจำนวนเงิน USD 100,000 โดยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ขายสินค้า (Spot Rate) คือ USD 1 เท่ากับ 35 บาท ดังนั้น บริษัทจึงรับรู้รายได้จากการขายเท่ากับ 3,500,000 บาท (USD 100,000 x 35 บาท) และมีลูกหนี้การค้าเป็นจำนวนเงิน USD 100,000 ซึ่งแสดงค่าเป็นสกุลเงินบาทเท่ากับ 3,500,000 บาท (USD 100,000 x 35 บาท ) และอีก 1 เดือนถัดมา เมื่อถึงกำหนดชำระค่าสินค้า ลูกค้าจ่ายชำระ USD 100,000
หากในวันรับเงิน อัตราแลกเปลี่ยน คือ USD 1 เท่ากับ 34.50 บาท บริษัทจะมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 50,000 บาท ( USD 100,000 x ( 34.50 บาท - 35.00 บาท )) หากในวันรับเงิน อัตราแลกเปลี่ยน คือ USD 1 เท่ากับ 35.30 บาท บริษัทจะมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 30,000 บาท ( USD 100,000 x ( 35.30บาท - 35.00 บาท )) บริษัทมีโอกาสที่จะขาดทุนหรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ดังนั้น "ความเสี่ยง" คือ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัท ข จำกัด เป็นบริษัทที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า โดยบริษัทมีความต้องการใช้เหล็กปริมาณ10,000 กิโลกรัม ในอีก 1 เดือนข้างหน้าราคาเหล็กในวันนี้เท่ากับ 20 บาทต่อกิโลกรัม หากซื้อเหล็กในวันนี้ บริษัทจะจ่ายซื้อเหล็กเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท (10,000 กิโลกรัม x 20 บาท)
หากราคาเหล็กในเดือนหน้าคือ 21 บาทต่อกิโลกรัม บริษัทต้องจ่ายซื้อเหล็กเป็นจำนวนเงิน 210,000 บาท (10,000 กิโลกรัม x 21 บาท) หากราคาเหล็กในเดือนหน้าคือ 19 บาทต่อกิโลกรัม บริษัทต้องจ่าย ซื้อเหล็กเป็นจำนวนเงิน 190,000 บาท (10,000 กิโลกรัม x 19 บาท) ความผันผวนของราดาเหล็กทำให้บริษัทจ่ายซื้อเหล็กในราดาสูงหรือราคาต่ำก็ได้ และนี่คือ "ความเสี่ยง"
ความเสี่ยงไม่ได้หมายถึงโอกาสในการเกิดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือโอกาสในการซื้อเหล็กในราดาสูงเท่านั้น โอกาสในการเกิดกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือโอกาสในการซื้อเหล็กในราคาต่ำก็ถือเป็นความเสี่ยง"ความเสี่ยงคือความไม่แน่นอน"
การป้องกันความเสี่ยง
อนุพันธ์ (Derivatives) เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง โดยอนุพันธ์ที่นิยมใช้ป้องกันความเสี่ยง มีดังนี้
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาฟอร์เวิร์ด (Forward Contract)
- ฟิวเจอร์ส (Futures)
- สิทธิเลือกหรือออปชัน (Options)
- สัญญาแลกเปลี่ยนหรือสวอป (Swaps)
บริษัท ก จำกัด ขายสินค้าให้ลูกค้าในต่างประเทศ USD 100,000 (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ขายสินค้า คือ USD 1 เท่ากับ 35 บาท) บริษัทจึงรับรู้รายได้จากการขายเท่ากับ 3,500,000 บาท และมีลูกหนี้การค้า USD 100,000 ซึ่งแสดงค่าเป็นสกุลเงินบาท 3,500,000 บาท และ จะรับชำระอีก 1 เดือนถัดมา บริษัท ก ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเข้าทำสัญญาฟอร์เวิร์ดกับธนาคารเพื่อจะขาย USD 100,000 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ในอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงไว้ล่วงหน้า (Forward Rate) คือ USD 1 เท่ากับ 34.80 บาท
กรณี A
ในเดือนถัดไป อัตราแลกเปลี่ยน (Spot Rate) คือ USD 1 เท่ากับ 34.50 บาทบริษัทจะมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้การค้าเท่ากับ 50,000 บาท (USD 100,000 x (34.50 บาท - 35.00 บาท)) ในเวลาเดียวกัน บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม ของสัญญาฟอร์เวิร์ดเท่ากับ 30,000 บาท (USD 100,000 x (34.80 บาท - 34.50 บาท) A โดยรวม บริษัทจะมีผลขาดทุน 20,000 บาท
กรณี B
ในเดือนถัดไป อัตราแลกเปลี่ยน (Spot Rate) คือ USD 1 เท่ากับ 35.30 บาท บริษัทจะมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้การค้าเท่ากับ 30,000 บาท (USD 100,000 x (35.30 บาท - 35.00 บาท)) ในเวลาเดียวกัน บริษัทจะมีผลขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของสัญญาฟอร์เวิร์ดเท่ากับ 50,000 บาท (USD 100,000 x (34.80 บาท - 35.30 บาท)) B โดยรวม บริษัทจะมีผลขาดทุน 20,000 บาท B
บริษัทจะมีผลขาดทุนโดยรวม 20,000 บาทไม่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตจะเป็นอย่างไรนี่คือ "การป้องกันความเสี่ยง"การทำให้ "ความไม่แน่นอน" กลายเป็น "ความแน่นอน"
การป้องกันความเสี่ยงไม่ได้ทำให้บริษัทหลีกเลี่ยงผลขาดทุนหรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับลูกหนี้การค้า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้บริษัทต้องรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในเวลาเดียวกันบริษัทก็มีผลกำไรหรือขาดทุนจากสัญญาฟอร์เวิร์ดด้วยการป้องกันความเสี่ยงคือการที่ผลกำไรหรือขาดทุนจากเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instrument) สามารถหักกลบกับผลกำไรหรือขาดทุนจากรายการที่ป้องกันความเสี่ยง (Hedged Item)
E-Book เครื่องมือทางการเงิน : IFRS 9 คลิก
ที่มา
FAP Newsletter Issue 43และ FAP Newsletter Issue 45
https://www.tfac.or.th/upload/9414/jdJr1WXpe5.pdf
https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/2.-TBS-ACC-IFRS9-Hedge-Accounting-20181126.pdf