รายการ |
อัตราค่าเสื่อม (%) |
1.ที่ดิน |
ไม่คิดค่าเสื่อมราคา |
2.อาคาร
|
5% (20 ปี)
100% (1 ปี)
|
3.ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ |
5% (20 ปี) |
4.ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทะิการเช่า
- กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า/มีหนังสือเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้
- กรณีมีสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้
|
10% (10 ปี) |
5.ต้นทุนการได้มาซึ่งสิทธิ กุ๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัติ ลิขสิทธิ์
- กรณีไม่จำกัดอายุการใช้
- กรณีจำกัดอายุการใช้
|
10% (10 ปี) |
6.ทรัพย์สินอย่างอื่น นอกจากที่ดินและสินค้า |
20% (5 ปี) |
หมายเหตุ
1.อัตรานี้เป็นอัตราขั้นต่ำที่สรรพากรกำหนดขึ้น
2.รถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวม VAT)
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา (วิธีที่นิยมมากที่สุดคือวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง)
1.วิธีการคำนวณแบบเส้นตรง (Straight Line Method)
วิธีนี้เป็นการคำนวณที่จะทำให้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีนั้นเท่า ๆ กันตามเส้นตรง ยกเว้นปีแรกกับปีสุดท้ายที่จะไม่เต็มปี
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน
ยกตัวอย่าง บริษัท A ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 8,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,000 บาท ประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรคือ 3,000 บาท และอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี
ค่าเสื่อมราคา |
= ((8,000+2,000)-3,000) /5 |
|
= 1,400 บาท ต่อปี |
2.วิธีการคำนวณตามผลผลิต (Unit of Production Method)
การคำนวณค่าเสื่อมราคาวินี้จะขึ้นอยู่กับผลผลิตในแต่ละปี วิธีนี้เหมาะสำหรับสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าลงไปตามการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคา = [(ราคาทุน-มูลค่าคงเหลือ) / ปริมาณผลิตทั้งหมด] x จำนวนที่ผลิตได้แต่ละปี
ยกตัวอย่าง บริษัท B ซื้อเครื่องจักรผลิตจุกนมเด็กมาในราคา 80,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 20,000 บาท ประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องจักรคือ 20,000 บาท และคาดการณ์ยอดผลิตจุกนมเด็กทั้งสิ้นของเครื่องจักรจำนวน 100,000 ชิ้น ในปีปัจจุบันโรงงานสามารถผลิตจุกนมเด็กได้ทั้งหมด 5,000 ชิ้น
ค่าเสื่อมราคา |
= [(100,000-20,000)/100,000] x 5,000 |
|
= 4,000 บาท |
3.วิธีการคำนวณแบบลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)
เป็นวิธีที่การคำนวณค่าเสื่อมราคาในช่วงปีแรกๆจะมีจำนวนค่าเสื่อมราคามาก แล้วค่าเสื่อมราคาก็จะทยอยลดน้อยถอยลงไปตามจำนวนปีที่มากขึ้น
ค่าเสื่อมราคา = มูลค่าทางบัญชี x อัตราค่าเสื่อมราคา x 2
(มูลค่าทางบัญชี = ราคาทุน - ค่าเสื่อมราคาสะสม,อัตราค่าเสื่อมราคา = 100 / อายุการใช้งานของสินทรัพย์)
ยกตัวอย่าง บริษัท A ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 8,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,000 บาท และอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี
(ราคาทุน = 8,000 + 2,000 = 10,000 บาท, อัตราค่าเสื่อมราคา = 100 / 5 x 2 = 40%)
ปี |
มูลค่าตามบัญชียกมา |
อัตราค่าเสื่อมราคา |
ค่าเสื่อมราคา |
มูลค่าตามบัญชียกไป |
1 |
10,000 |
40 % |
4,000 |
6,000 |
2 |
6,000 |
40 % |
2,400 |
3,600 |
3 |
3,600 |
40 % |
1,440 |
2,160 |
4 |
2,160 |
40 % |
684 |
1,296 |
5 |
1,296 |
40 % |
518.4 |
777.6 |
ตามวิธีนี้ ณ สิ้นปีที่ 5 ราคาตามบัญชีจะเท่ากับมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์
4.วิธีการคำนวณแบบผลรวมจำนวนปี (Sum of the Year Digit)
วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบนี้หลักการจะคล้ายกับแบบลดลงทวีคูณกล่าวคือในปีแรกๆจะมีการคิดค่าเสื่อมราคามากและค่าเสื่อมราคาจะทยอยลดลงในปีท้ายๆ
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - มูลค่าคงเหลือ) x (จำนวนปีที่เหลือ/ผลรวมจำนวนปี)
ยกตัวอย่าง บริษัท C ซื้อเครื่องจักรมาในราคา 35,000 บาท ประมาณอายุการใช้งาน 5 ปี และกำหนดให้มีมูลค่าคงเหลือ 2,000 บาท
ปี |
ราคาที่ใช้คำนวณ |
ค่าเสื่อมราคา |
1 |
33,000 x 5/15 |
11,000 |
2 |
33,000 x 4/15 |
8,800 |
3 |
33,000 x 3/15 |
6,600 |
4 |
33,000 x 2/15 |
4,400 |
5 |
33,000 x 1/15 |
2,200 |
15 |
5/15 |
33,000 |
ผลกระทบต่องบการเงิน
ยกตัวอย่าง บริษัท B ซื้อรถยนต์มาในราคา 1,000,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่าย ในการนำเข้า 300,000 บาทประมาณการมูลค่าคงเหลือของรถยนต์คือ 200,000 บาท และประมาณอายุการใช้งานอยู่ที่ 10 ปี (วิธีเส้นตรง)
ค่าเสื่อมราคา |
= ((1,000,000 +300,000) - 200,000) / 10 |
|
= 110,000 บาท ต่อปี |
ผลกระทบต่องบการเงินในแต่ละกรณี
1.สมมุติว่าผู้ถือหุ้นชำระทุนจดทะเบียนเข้าไปในบริษัทจำนวน 1,500,000 บาท
งบแสดงฐานะการเงิน : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
|
สินทรัพย์ |
หนี้สิน |
ส่วนของเจ้าของ |
|
เงินสด |
|
ทุน |
(1) |
1,500,000 |
|
1,500,000 |
2.หลังจากนั้นบริษัทได้ซื้อรถยนต์เข้ามา ตามโจทย์ข้างต้น (สมมติว่าซื้อมาตอนต้นปี)
งบแสดงฐานะการเงิน : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
|
สินทรัพย์ |
หนี้สิน |
ส่วนของเจ้าของ |
|
เงินสด |
อุปกรณ์ |
|
ทุน |
(1) |
1,500,000 |
|
|
1,500,000 |
(2) |
(1,300,000) |
1,300,000 |
|
|
รวม |
200,000 |
1,300,000 |
|
1,500,000 |
3.บันทึกค่าเสื่อมราคา ณ สิ้นปีที่ 1
งบแสดงฐานะการเงิน : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
|
สินทรัพย์ |
ส่วนของเจ้าของ |
|
เงินสด |
อุปกรณ์ |
ทุน |
กำไรสะสม |
(1) |
1,500,000 |
|
1,500,000 |
|
(2) |
(1,300,000) |
1,300,000 |
|
|
(3) |
|
(101,000) |
|
(101,000) |
รวม |
200,000 |
1,300,000 |
1,500,000 |
(101,000) |
หมายเหตุ : (110,000) มาจากงบกำไรขาดทุนรายการกำไร (ขาดทุน)
เมื่อบริษัทซื้อสินทรัพย์มา (มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี และมีมูลค่าสูง)
- บริษัทไม่สามารถรับรู้ป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนได้ ต้องทยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในรูปของค่าเสื่อมราคา
- ตามหลักบัญชีแล้วจะต้องทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์
กรมสรรพากรได้กำหนดอัตราค่าเสื่อมราคาขั้นต่ำของสินทรัพย์แต่ละประเภทไว้
- อัตราค่าเสื่อมราคาทางบัญชี "ต่ำกว่า" (จำนวนปีที่ทยอยตัดค่าเสื่อมราคาต่ำกว่าจำนวนปีขั้นต่ำที่สรรพากรกำหนด)
- บริษัทจะต้องนำส่วนต่างมาบวกกลับทางภาษี (เท่ากับไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้)
ที่มา เพจ 101 BuncheeTax