7 วิธีป้องกัน ใบกำกับภาษีปลอม

              นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 กรมสรรพากรได้แจ้งว่าจะดำเนินคดีอาญาในกรณีการใช้ใบกำกับภาษีปลอมโดยไม่มีการผ่อนปรนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาซึ่งการดำเนินคดีอาญาดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร

              “ มาตรา 37 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท (1) โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จหรือให้ถ้อยคําเท็จหรือตอบคําถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือเพื่อขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้หรือ (2) โดยความเท็จโดยฉ้อโกงหรืออุบายหรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกันหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรหรือขอคืนภาษีอากรตามลักษณะนี้

              โดยอธิบดีกรมสรรพากรเคยกล่าวถึงโทษตามมาตรา 37 ในการแถลงข่าวเรื่องความร่วมมือกับสำนักงานบัญชีเพื่อการแนะนำด้านภาษีอากรที่มีคุณภาพเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ว่า“ โทษบังคับนี้ใช้ทั้งกับผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอมคือ บริษัท ห้างร้านและผู้ที่สนับสนุนให้กระทำผิดคือสำนักงานบัญชีซึ่งขณะนี้ทั่วโลกดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้วและเริ่มเข้มข้นขึ้นรวมถึงขอให้ไทยสําเนินคดีอาญาเหมือนในต่างประเทศด้วยเพราะที่ผ่านมา 20 ปีไทยอนุโลมให้หากสานึกผิดมาเสียภาษีและเสียค่าปรับถือว่าจบกันไปไม่ต้องดำเนินคดีอาญา แต่ต่อไปถ้ามีหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ใบกํากับภาษีปลอมจะไม่มีการละเว้นหรืออนุโลมในคดีอาญาให้อีกสำนักงานบัญชีที่มีพฤติกรรมจงใจบันทึกบัญชีโดยปกปิดข้อเท็จจริงสร้างรายจ่ายอันเป็นเท็จมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกหรือใช้ใบกำกับภาษีปลอมทำให้ผู้ประกอบการเสียภาษีไม่ถูกต้องตลอดจนการขอคืนภาษีเป็นเท็จนอกจากจะถูกกรมสรรพากรดำเนินคดีอาญา

              ตามประมวลรัษฎากรแล้วยังเป็นความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ด้วยซึ่งมีทั้งโทษปรับและจำคุกรวมถึงเป็นความผิดในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีอาจลงโทษสูงสุดถึงขั้นเพิกถอนการขึ้นทะเบียนดังนั้นในฐานะที่เราเป็นผู้ประกอบการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวเราจึงควรมีการวางแผนเพื่อป้องกันใบกำกับภาษีปลอมดังนี้

1.สํารวจธุรกิจของตนเองว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่ เช่น

1.1 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะกรณีจ้างเหมาช่วงที่กําหนดว่าจ้างเฉพาะค่าแรงรับเหมา แต่ผู้ว่าจ้างยอมให้ผู้รับจ้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการรับจ้างให้ด้วย

1.2 ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง

1.3 ธุรกิจซื้อมาขายไปประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติกเคมีภัณฑ์

1.4 ธุรกิจส่งออก

1.5 ธุรกิจผ้าและการ์เมนท์

ฯลฯ

2.ติดต่อซื้อขายสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเต็มรูปแบบรายอื่นๆ ที่คุ้นเคยและติดต่อค้าขายหรือให้บริการกันอยู่เป็นประจําไม่ควรติดต่อซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ค้าขาจรที่ลักษณะเร่งร้อนหรือลุกลี้ลุกลน

3.ในกรณีไม่มั่นใจให้เรียกตรวจสอบหลักฐานทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ต้นฉบับที่กรมสรรพากรได้

4.ไม่ควรซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและตกลงซื้อขายเป็นเงินสดโดยไม่มีการผ่อนระยะเวลาการชาระหนี้ (Credit Term) ไม่ว่ากรณีใด ๆ

5.ควรตรวจสอบรายการสินค้าตามหลักฐานใบกำกับภาษีกับที่ตกลงซื้อขายว่ามีรายการตรงกัน

6.ไม่ควรซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่ไม่ยอมรับชาระหนี้ด้วยเช็คขีดคร่อมชนิดระบุชื่อผู้รับตามเช็ค (A/C Payee Only) และขีดฆ่าผู้ถือออกเพราะหลักฐานชนิดนี้สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินตามเช็คได้

7.กําหนดระเบียบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจรับใบกำกับภาษีซื้ออย่างเป็นระบบและมีความรัดกุมเพียงพอ

              เนื่องจากปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับใบกำกับภาษีปลอมที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการต่อต้านการทุจริตซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลให้ความสำคัญจึงนับว่าเป็นยาแรงสำหรับผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่อาจเป็นเหยื่อของใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าใบกำกับภาษีปลอมอย่างไม่รู้ตัวเพราะในความเข้าใจทั่วไปของเรา ๆ มักเข้าใจว่าการตรวจสอบคู่ค้าว่ามีการจดทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรอย่างถูกต้องน่าจะเพียงพอแล้ว แต่ในมุมของเจ้าหน้าที่สรรพากรนั้นผู้ประกอบการจะต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ออกใบกำกับภาษีและผู้ขายเป็นรายเดียวกันมีการชำระสินค้ากันจริงด้วยทั้งนี้ใช่เพียง แต่ที่ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความระมัดระวัง แต่เฉพาะด้านคู่ค้าเท่านั้นการตรวจสอบภายในหรือการควบคุมภายในก็มีความจำเป็นเช่นกันเพราะหากเกิดปัญหาเกลือเป็นหนอนขึ้นถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะสุจริต แต่เราไม่สามารถที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับกรมสรรพากรได้เลยเพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายเฉพาะได้วางหลักไว้ในมาตรา 89 (7) วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรไว้ว่า ... ในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอมใบกํากับภาษีปลอมจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะตรวจสอบ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเราใส่ใจมัน

 

ที่มา สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์