เมื่อกฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะเริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ ทำให้การเตรียมตัวและวางแนวทางเพื่อปฏิบัติตามอย่างถูกต้องครบถ้วนนั้น อาจไม่ใช่แค่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลลูกค้าเท่านั้นที่ต้องเร่งเตรียมตัว แต่ต้องบอกว่าทุกองค์กรต้องตั้งรับ ปรับตัว และเตรียมพร้อม เพราะกฎหมาย PDPA นี้ มีผลครอบคลุมไปถึงข้อมูลของพนักงาน ลูกจ้าง และบุคคลทุกคนในองค์กรด้วย แล้วนายจ้างและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง HR ควรปฏิบัติหรือต้องระวังอะไรบ้าง เพื่อไม่พลาดทำผิดกฎหมายดังกล่าว ไปดูกัน
-
นายจ้าง ถือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามบทบัญญัติในมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีใจความว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล”
-
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของนายจ้าง จึงถือเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บัญญัติไว้ว่า “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”
ข้อมูลพนักงานที่องค์กรต้องเกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง?
การรับลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้าง และ HR ย่อมมีข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัคร เพื่อทำความรู้จักบุคคลนั้นๆ ให้มากที่สุด จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งระบุตัวตนของคนนั้นๆ ได้ชัดเจน เช่น
-
ประวัติส่วนตัว
-
ใบสมัครงาน และเอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา ข้อมูลทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองการฝึกอบรม
-
ผลการตรวจสุขภาพ
-
ผลการประเมินช่วงทดลองงาน และระหว่างปฏิบัติงาน
-
สลิปเงินเดือน และเงินพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน
-
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครด้านพฤติกรรม ความประพฤติ ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หรือหนังสือเลิกสัญญาจ้าง
-
ใบประกาศด้านความดีความชอบ หรือรางวัลต่างๆ
-
สัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในแต่ละช่วง
-
ข้อมูลสถิติการเข้างาน – เลิกงาน การลางาน ขาดงาน หรือมาสาย
-
ประวัติทางอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ ก่อนเป็นพนักงาน
-
ประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย PDPA นั้น ก่อนที่นายจ้างจะได้พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร จะต้องมีการขอความยินยอมจากผู้สมัครงานก่อน ตามมาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่
(๑) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ
เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสม
เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกาหนด
(๒) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
(๓) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือ
เพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น
(๔) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
(๕) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสาคัญ
น้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(๖) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่( ๓) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น
การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการจ้างงาน มีกิจกรรมอะไรบ้าง
1.ก่อนการจ้างงาน การสมัครงาน จะสอดคล้องกับ มาตรา ๒๔ (๓) HR ต้องได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้สมัคร เพื่อใช้ในการประกอบพิจารณาการสมัครงาน ดังนี้
-
ประวัติส่วนตัว
-
ใบสมัครงาน และเอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา ข้อมูลทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองการฝึกอบรม
-
ผลการตรวจสุขภาพ
-
ประวัติทางอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ ก่อนเป็นพนักงาน
-
ประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
2.ระหว่างการจ้างงาน การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาจ้าง จะสอดคล้องกับ มาตรา ๒๔ (๓)
ยกตัวอย่างข้อมูล
-
สลิปเงินเดือน และเงินพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน
-
ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานด้านพฤติกรรม ความประพฤติ ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หรือหนังสือเลิกสัญญาจ้าง
-
ใบประกาศด้านความดีความชอบ หรือรางวัลต่างๆ
-
สัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในแต่ละช่วง
-
ข้อมูลสถิติการเข้างาน – เลิกงาน การลางาน ขาดงาน หรือมาสาย
-
รูปภาพกิจกรรม เพื่อสื่อประชาสัมพันธ์บริษัท
-
หลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ที่ทำงานใหม่ขอประวัติลูกจ้างที่ลาออกไปแล้ว สามารถให้ได้ แต่พนักงานต้องให้ความยินยอมไว้ก่อนเลิกจ้าง ตามมาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
อ้างอิงข้อมูล
- พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ธรรมนิติ