คนทำงานแต่ละวัยควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง

          การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญอย่างยิ่ง การตรวจสุขภาพเหล่านี้จะช่วยตรวจพบปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาและรักษาได้ทันท่วงที การตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับการรักษาพยาบาลได้ทันที ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงและอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพเป็นประจำยังส่งเสริมความเป็นอยู่โดยรวม เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ของตน เป็นการลงทุนทั้งด้านสุขภาพของแต่ละบุคคลและประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร

วัยรุ่น – วัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 13-25 ปี)

          ร่างกายจะแข็งแรง ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาด้านสุขภาพที่จะส่งผลระยะยาวตอนอายุมากขึ้น ควรเน้นไปที่การตรวจสุขภาพที่เห็นผลโดยรวม

  • ตรวจสุขภาพโดยรวม
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด
  • ตรวจระบบการทำงานของตับและไต
  • ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ
  • เอ็กซ์เรย์ปอด
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง
  • ตรวจการทำงานของหัวใจ (EKG)

วัยทำงาน (อายุ 26-40 ปี)

          จะมุ่งมั่นทำงานหนักเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต เกิดความเครียดได้ง่าย มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ในระยะยาวได้ควรเน้นไปที่การตรวจหาความเสี่ยงขั้นต้นของมะเร็งต่างๆ 

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 13-25 ปี
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งตับ
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งปอด
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

วัยกลางคน (อายุ 41-60 ปี)

          เริ่มมีความมั่นคงในชีวิตจากการทำงานมาระยะหนึ่ง เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ รวมถึงมีอาการต่างๆ แสดงออกมาในช่วงอายุนี้

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 26-40 ปี
  • ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งเต้านมสำหรับผู้หญิง
  • ตรวจความดันโลหิตสูง
  • ตรวจหาความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ตรวจเบาหวาน
  • ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจสายตายาว

วัยสูงอายุ (อายุ 61 ปีขึ้นไป)

          ช่วงเวลาที่หลายคนเกษียณอายุการทำงาน มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องความเสื่อมถอยของร่างกาย รวมถึงอวัยวะต่างๆ ก็จะมีความเสี่ยงในการทำงานผิดจากปกติมากขึ้น จะต้องทำการตรวจสอบการทำงานของอวัยวะต่างๆ อย่างละเอียด และมีการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำ

  • ตรวจสุขภาพตามรายการที่เคยตรวจในช่วงวัย 41-60 ปี
  • ตรวจการทำงานของร่างกายในภาพรวมอย่างละเอียด
  • ตรวจเฉพาะทางอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ช่องท้อง ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคเกี่ยวกับไขข้อ โรคต้อกระจก ฯลฯ
  • ตรวจมวลกระดูก ที่อาจมีการเสื่อมสภาพ ผุกร่อนลงไปตามอายุ

 

ที่มา easysunday