การใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการประกาศรับสมัครงานเป็นทางเลือกที่หลายบริษัทตัดสินใจใช้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่รวมคนจำนวนมาก. อย่างไรก็ตาม, การประกาศงานบนโซเชียลมีเดียแล้วไม่มีใครสนใจสมัครเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้ง
1.ระบุเงินเดือน ตามตกลง ตามโครงสร้างบริษัท : เงินเดือนคือสิ่งแรกที่คนหางานมองหา จะสมัครงานทั้งทีใครก็อยากรู้ “ฉันจะได้เงินเท่าไร” ถ้าไหวก็สมัคร ถ้าน้อยเกินไม่ไหวจริงก็ไม่เลือกให้เสียเวลา แต่ถ้าไม่บอกเป็นตัวเลขที่ชัดเจนก็ปล่อยผ่าน เพราะคนส่วนใหญ่ชอบความสะดวก ไม่ต้องมีหลายขั้นตอน เห็นแล้วรู้เลย ไม่ต้องโทรไปถามว่า “เท่าไร” เหมือนเวลาซื้อของ ร้านไหนบอกราคา ย่อมมีโอกาสขายได้มากกว่า
2.ข้อมูลคลุมเครือ ไม่เข้าใจว่าเป็นงานอะไร : “ชื่อตำแหน่งงาน” ต้องเป็นชื่อทั่วไป บ่งบอกว่าเป็นงานอะไร ตัวอย่างชื่อที่ไม่ควรใช้ เช่น พนักงานประจำสาขา หรือชื่อที่ยาวเกินไป (จนน่ากลัว ชวนคิดว่าเข้าไปแล้วต้องทำอะไรบ้างเนี่ย) รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “หน้าที่ความรับผิดชอบ” ต้องระบุให้ครบถ้วน อ่านแล้วเข้าใจว่างานหลักของตำแหน่งนั้นคืออะไร ต้องมีทักษะด้านใดบ้าง ผู้สมัครสามารถนำมาพิจาร.ณาได้ว่างานนี้เหมาะกับตัวเองรึเปล่า
3.ขาดข้อมูลคุณสมบัติผู้สมัคร : เพศ, อายุ, วุฒิการศึกษา, ทักษะหรือประสบการณ์เฉพาะทาง ยิ่งละเอียดครบถ้วนเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ ประกาศงาน สามารถ หาคนทำงาน ได้ง่ายมากเท่านั้น ต้องใส่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง อย่ากว้างเกินไป เช่น ทุกช่วงอายุ หรือให้ข้อมูลคลุมเครือ เช่น ยินดีรับนักศึกษาจบใหม่ ประสบการณ์ 2 ปีขึ้นไป
4.ข้อมูลในภาพเยอะเกินไป : ถ้าเลื่อนมาแล้วเจอภาพที่มีแต่ข้อความตัวเล็ก ๆ เต็มไปหมด ไม่รู้จะอ่านอะไรก่อนไม่มีส่วนไหนดึงดูดให้อยากหยุดอ่านเลย ก็เลือกไม่อ่านดีกว่า ภาพที่ใช้ ประกาศงาน ไม่ควรนำข้อมูลทุกอย่างใส่ลงไป ควรเลือกเฉพาะข้อมูลสำคัญ อย่าง ชื่อตำแหน่งงาน, เงินเดือน, หน้าที่ความรับผิดชอบ, คุณสมบัติ, สวัสดิการ, ช่องทางสมัครงาน ส่วนไหนที่น่าสนใจเป็นจุดเด่นของงานนี้ ก็ทำข้อความให้ดูเด่น อาจมีความหนาและขนาดใหญ่ ส่วนข้อความอื่น ๆ ที่มีความสำคัญรองลงมาก็นำไปใส่ในแคปชั่นแทนได้ค่ะ
5.เลือกช่องทางไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย : แม้จะมีโซเชียลมีเดียให้ ประกาศงาน เพื่อ หาคนทำงาน ให้เลือกประกาศได้หลายช่องทาง แต่คนในแต่ละตำแหน่งงานก็เลือกใช้ช่องทางที่ต่างกัน
การเลือก ประกาศงาน หลายช่องทางไว้ก่อน คิดว่าจะช่วยให้ได้คนเร็ว อาจไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่ได้อยู่ในนั้น ตัวอย่าง ต้องการหาตำแหน่ง พนักงานบัญชี ทำงานในกทม. แต่เลือก ประกาศงาน ในกลุ่ม Facebook หาพนักงานการตลาดในภาคอีสาน, หาโปรแกรมเมอร์ ในกทม. หรือประกาศในกลุ่มที่ไม่มีคนเข้าไปแล้ว ดังนั้น ต้องตรวจสอบและพิจารณาช่องทางที่จะใช้ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายด้วยว่าพวกเขาใช้ช่องทางนั้นหางานรึเปล่า สังเกตได้ง่าย ๆ จาก ประกาศงาน ของบริษัทอื่นที่เป็นสายงานหรือตำแหน่งเดียวกันกับเรา ถ้ามีการกดไลก์ คอมเมนต์ แชร์ ก็แสดงว่ากลุ่มเป้าหมายเราอยู่ในนั้น
นอกจากนี้ วันและช่วงเวลาในการ ประกาศงาน ก็สำคัญเช่นกัน ดีที่สุดคือ เลือกลงประกาศช่วงที่กลุ่มเป้าหมายเล่นโซเชียล เช่น
- วันจันทร - ศุกร์ ช่วงเที่ยง และช่วงหลังเลิกงาน 5 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม
- วันเสาร์ – อาทิตย์ ช่วงบ่าย 1 ถึง 4 โมงเย็น
- หรืออาจพิจารณาจากพฤติกรรมของแต่ละสายงาน อย่างสายไอที มักชอบใช้เวลาช่วงดึก เราอาจเลือก ประกาศงาน ช่วงใกล้ 4 ทุ่มจนถึงเที่ยงคืน
ที่มา www.jobbkk.com