5 ปัญหาสุขภาพจิต ชาวออฟฟิศ

          สุขภาพจิตของชาวออฟฟิศเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ต้องเผชิญกับความกดดันสูงและการใช้เวลาส่วนใหญ่ในสำนักงาน อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตหลายประการ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความกดดันสูง ที่ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในชาวออฟฟิศ 

1. เครียดสะสม  ความเครียดจากการทำงานหนัก การบริหารจัดการเวลา และการตอบสนองต่อความคาดหวังที่สูงเกินไป สามารถสะสมจนเกิดเป็นความเครียดเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตและร่างกายได้

2. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)  เกิดจากการทำงานหนักเป็นเวลานานโดยไม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ ทำให้รู้สึกหมดพลัง หมดแรงจูงใจ และไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ (Low self esteem)  เกิดจากการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น หรือการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ไม่ดีพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

4. โรคซึมเศร้า (Depression)  ความรู้สึกเศร้า หมดหวัง หรือรู้สึกว่างเปล่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงาน การตัดสินใจ และการใช้ชีวิตประจำวัน

5. กลุ่มโรควิตกกังวลและแพนิค (Panic Disorder)  อาการวิตกกังวลเกินเหตุ หรือการมีอาการแพนิคอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาจทำให้การทำงานเป็นเรื่องยากและสร้างความลำบากในการดำเนินชีวิต

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของชาวออฟฟิศ

  • ความกดดันในการทำงาน การรับผิดชอบงานที่มากเกินไปหรือการตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไป อาจทำให้เกิดความเครียดและภาวะหมดไฟ (Burnout)

  • สภาพแวดล้อมการทำงาน สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดี หรือบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตร อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมและความไม่พึงพอใจในการทำงาน

  • การขาดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว การทำงานที่ยาวนานและไม่มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว

  • การขาดการสนับสนุนทางสังคม การขาดความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน หรือการไม่สามารถพูดคุยปรึกษาปัญหากับผู้อื่น อาจทำให้พนักงานรู้สึกโดดเดี่ยวและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า

  • ความคาดหวังที่สูงเกินไป ทั้งจากตนเองหรือจากองค์กร ความคาดหวังที่สูงเกินไปสามารถสร้างความกดดันอย่างมากและทำให้รู้สึกไม่พอใจในตนเองเมื่อไม่สามารถทำได้ตามเป้า

แนวทางในการดูแลสุขภาพจิตของชาวออฟฟิศ

  • การบริหารจัดการเวลา จัดตารางเวลาการทำงานให้มีความสมดุล ระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว พร้อมมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ
  • การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
  • การสนับสนุนด้านจิตใจ สร้างช่องทางให้พนักงานสามารถพูดคุยและปรึกษาปัญหาทางจิตใจได้ เช่น การมีนักจิตวิทยาประจำบริษัท
  • การออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้พนักงานมีการออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งช่วยลดความเครียดและเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี
  • การฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย สร้างเวลาในการฝึกสมาธิหรือทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจ เช่น การทำโยคะหรือการฝึกหายใจลึก ๆ

          การตระหนักรู้และจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ การให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของชาวออฟฟิศเป็นการลงทุนที่มีค่า ไม่เพียงแค่ช่วยให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น แต่ยังส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ยังส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและความสำเร็จขององค์กรอีกด้วย

 

ที่มา โรงพยาบาลวิมุต