ใครขาดงาน หัก 2 เท่า บังคับใช้ไม่ได้ ขัดกฎหมาย!!

          กฎบริษัทไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้  ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกจ้างเซ็นสัญญาที่มีข้อความตัดสิทธิ์ลูกจ้างเอง เช่น ลูกจ้างตกลงไม่รับค่าชดเชย ลูกจ้างตกลงให้บอกเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า กฎเหล่านี้ไม่สามารถใช้บังคับได้เลย ในส่วนใดข้อบังคับการทำงาน หรือกฎบริษัทใดที่ขัดต่อการกฎหมายแรงงาน มีผลให้เป็นโมฆะ
          การออกกฎ ว่า “หากขาดงานวันศุกร์ หัก 2 เท่า !!”  ที่กฎเหล่านี้ยังคงอยู่ได้ ไม่ใช่เพราะว่ากฎบริษัทเหนือกฎหมาย แต่เพราะลูกจ้างหลายคนไม่อยากมีปัญหา กรณีออกกฎบริษัทแบบนี้ จึงขัดกฎหมายมาตรา 76 ต่อให้ลูกจ้างเซ็นต์รับแล้ว ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องได้
          ยกตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14541-14551/2557 นายจ้างมีกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดว่า ขาดงานหัก 2 เท่า
ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และนายจ้างได้หักค่าจ้าง 10 บาท เป็นเวลา 21 เดือน เป็นค่าธรรมเนียมแก่ธนาคารในการโอนเงินเข้าบัญชีลูกจ้างแต่ละคน ไม่ใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการอันเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวตามมาตรา 76 (3) นายจ้างหักค่าจ้างของลูกจ้างไว้จึงต้องคืนค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

 

ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน