วัฒนธรรมในองค์กรญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือมารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติ คนญี่ปุ่นให้ความเคารพผู้อาวุโสและผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ยาวนาน การพูดคุยกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานนอกเหนือจากเรื่องงานจึงเป็นสิ่งที่ควรระวัง ไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวมากนัก ควรคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายอยู่เสมอสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมของบริษัทญี่ปุ่น
การสื่อสารในองค์กรญี่ปุ่นมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ คนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการสื่อสารแบบ High Context Culture คือ ผู้สื่อสารไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดตรงๆผู้รับสารก็จะสามารถเข้าใจได้ คนญี่ปุ่นจึงมักไม่พูดในสิ่งที่ต้องการให้เราทำตรงๆ โดยคนไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นมาหลายปีจะเริ่มซึมซับและเข้าใจวัฒนธรรมการสื่อสารแบบญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นจะเลี่ยงการพูดในเชิงปฏิเสธ วิธีการปฏิเสธจะพูดอ้อมๆ จะไม่บอกความรู้สึกของตนเองกับคู่สนทนาตรงๆดั้งนั้นเราจึงต้องสังเกตุจากน้ำเสียง หน้าตาท่าทางประกอบด้วย
น้องบีพลัสพามาดู วัฒนธรรมการทำงานในองค์กรญี่ปุ่น สวัสดิการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน สร้างความสุขกับการทำงาน
- ประกันสุขภาพ บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลทั้ง IPD OPD , ประกันอุบัติเหตุ ให้แก่พนักงาน ในกรณีเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ บางที่สวัสดิการคุ้มครองสวัสดิภาพครอบคลุมถึงเรื่องการทำฟัน อีกทั้งมีสวัสดิการประกันชีวิตเพิ่มเติมให้แก่พนักงานอีกด้วย
- โอกาสไปดูงานต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีสำนักงานใหญ่หรือมีสาขาที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้การประสานงานในการทำงานต้องติดต่อกับต่างประเทศ ศึกษาวิธีการทำงาน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดเห็น
- ท่องเที่ยวประจำปีและงานเลี้ยงสังสรรค์ในเทศการต่างๆ ทำให้เกิดความสนิทสนมกันในองค์กรอีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงการใส่ใจและดูแลพนักงงานอย่างหนึ่ง
- ชุดเครื่องแบบพนักงาน คนญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่ชัดเจน แต่ละองค์กรก็จะสร้างความโดดเด่น บริษัทญี่ปุ่นจึงมีเครื่องแบบพนักงาน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่เฉพาะของแต่ละบริษัทขึ้นมา
- สวัสดิการด้านภาษา ภาษาที่สื่อสารกันในองค์กรก็จะเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาญี่ปุ่น ถ้าหากพนักงานมีความสามารถทางด้านภาษาก็จะทำให้ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ มีสวัสดิการทางด้านให้ค่าภาษาเพิ่มเติมตามระดับของภาษา อีกทั้งมีการส่งเสริมให้เรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
- เบี้ยขยัน คนญี่ปุ่นเน้นเรื่องการตรงต่อเวลา ทุ่มเทกับการทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการเบี้ยขยัน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้แก่พนักงานในองค์กร
- ค่าตำแหน่ง บริษัทญี่ปุ่น จะมีฐานเงินเดือนอาจไม่สูงมากนัก แต่จะมีค่าตำแหน่งให้เพิ่มเติม ตามตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงทักษะที่เฉพาะทางในการทำงาน
- โบนัสประจำปี การประเมินโบนัสแน่นอนว่าทางนายจ้างจะต้องดูผลประกอบการบริษัท ผลงานของพนักงานนั้นๆ บางบริษัทอาจประเมินจากการขาดงาน ลาป่วย หรือมาทำงานสาย หรือบางบริษัทอาจขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ
- การตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน บริษัทฯ จะจัดให้มีสวัสดิการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน โดยเป็นการตรวจร่างกายและสภาวะทางจิตใจ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานซึ่งเกิดจากการทำงาน ทำให้ทราบภาวะสุขภาพและแนวโน้มความเจ็บป่วยของพนักงาน
- บริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นสวัสดิการที่พนักงานจะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพนักงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเปรียบเสมือนหลักประกันความมั่นคงในการและเป็นเงินสะสมของพนักงานและเงินสมทบจากบริษัท หมายความว่าหากพนักงานมีความต้องการในการออมเงินเท่าไร นายจ้างช่วยลูกจ้างออมด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเปอร์เซ็นต์ของแต่ละบริษัท เพื่อพนักงานจะได้มีเงินสะสมเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุ
- สวัสดิการค่าเดินทาง พิจารณาจากเส้นทางการเดินทางของพนักงานและยานพาหะนะ โดยคำนวณจากรายจ่ายในการเดินทางของแต่ละวันโดยมีคำนวณออกมาอย่างชัดเจน
- OT หรือค่าล่วงเวลา (Overtime) คือค่าตอบแทนในกรณีที่ต้องทำงานนอกเหนือจากเวลาทำการปกติ โดยกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ว่าการทำงานล่วงเวลาต้องเกิดจากความยินยอมของลูกจ้าง หรือความจำเป็นที่ต้องทำงานนั้นให้แล้วเสร็จ
- การจัดสวัสดิการฝึกอบรมให้กับพนักงาน โดยจะจัดอบรมทั้งใน สถานที่ หรือนอกสถานที่เพื่อให้พนักงานได้พักผ่อนไปในตัวด้วย การจัดอบรมหรือ Training course เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน การพัฒนาบุคลิกภาพ และสามารถเพิ่มคุณค่าแก่ตนเอง ซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานและการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสได้แลกเปลี่ยนแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติ และประสบการณ์ในการบริหารงานและทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานอีกด้วย
ที่มา PASONA
15 September 2023
View
3,111