การลาออกโดยไม่ได้บอกล่วงหน้าแม้จะเกิดความเสียหายให้แก่นายจ้าง แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นคนละส่วนกับค่าจ้างซึ่งนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักไว้ตามมาตรา 76 แห่งพรบคุ้มครองแรงงาน ดังนั้นคำตอบสั้นๆก็คือ
"แม้ลาออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าและก่อให้เกิดความเสียหาย นายจ้างก็จะหักค่าจ้างไว้ไม่ได้"
ตามกฎหมาย การแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้างไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม แจ้งทางโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ ส่งไลน์ ก็มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง และ "นายจ้างไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือนลูกจ้าง หรืออ้างว่าจะไม่เงินจ่ายเงินเดือนเพราะการลาออกกะทันหันของลูกจ้างทำให้นายจ้างเสียหายไม่ได้"
นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ถ้ากำหนดเป็นรายเดือน นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตามงวดที่กำหนด หรือถ้าตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ก็ต้องประโยชน์ต่อลูกจ้าง
หากไม่จ่ายนายจ้างมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสนบาท
ทั้งนี้ นายจ้างก็มีสิทธิจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ นายจ้างต้องพิสูจน์ให้ศาล เห็นเพื่อพิจารณาว่าการที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกล่วงหน้านั้น เกิดความเสียหายอย่างไรและศาลก็จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจของศาล
ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน