ชาวออฟฟิศพึงระวัง ... หมิ่นประมาทเพื่อนร่วมงาน มีความผิด

          สังคมในที่ทำงาน หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยกับการติฉินนินทา วิพากษ์วิจารณ์ หรือต่อว่าเพื่อนร่วมงาน หากปล่อยเลยไป อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเพื่อนร่วมงาน จนไปสู่การฟ้องหมิ่นประมาทได้ 

          การหมิ่นประมาทเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นได้ทั้งความผิดในทางอาญาและแพ่ง รวมทั้งอาจมีความผิดทางวินัยในกฎระเบียบของทางบริษัทด้วย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326  “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

          การใส่ความ หมายถึง การยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นความจริงหรือเท็จก็ได้ รวมถึงการเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟัง อาจเป็นการใช้คำพูด การเขียน ส่งทางไลน์ โซเชียลมิเดียต่าง ๆ  หรือการแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวหาผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ แต่หากการใส่ความนั้นเป็นเพียง “คำหยาบ” “คุลมเครือ” “ไม่ชัดเจน” ยังไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

 

ลักษณะของการ หมิ่นประมาท

  • ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นเพียง “คำหยาบ” หรือ “ข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้” ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังเชื่อแล้วเกิดความรู้สึกเกลียดชังดูหมิ่นขึ้นได้
  • ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ “คลุมเครือ” หรือ “เลื่อนลอย”
  • ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือในปัจจุบัน ไม่ใช่ “การคาดคะเน” “คาดเดา” หรือ “การกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต”

 

ลักษณะของการ ใส่ความ

  • การใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ ใส่ความว่า “กระทำทุจริต”
  • การใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติไม่เหมาะสม หรือ “ไม่สมควรในทางเพศ”
  • การใส่ความเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงาน เช่น การนำข้อความเท็จไปร้องเรียนต่อหัวหน้างาน กล่าวหาว่าผู้ร่วมงานทำความผิด
  • การใส่ความเกี่ยวกับเรื่องสถานะทางการเงิน เช่น กล่าวหาว่ายักยอกเงินนายจ้าง

 

การ ใส่ความ” ที่ยกเว้น

  • เพื่อความชอบธรรม “ป้องกันตนเอง หรือ ส่วนได้ส่วนเสียของตน”
  • ในฐานะเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามหน้าที่
  • ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนที่พึงกระทำ
  • ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือการประชุม 

 

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 “ผู้ให้แสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต” เพื่อการใน 4 ข้อ ที่กล่าวมา

 

การดำเนินคดีความผิดอาญา

เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิดหากเกิน 3 เดือน จะหมดอายุความ

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330  “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่หมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

 

ที่มา ธรรมนิติ