The Next Normal กับปัจจัยพื้นฐาน 10 ประการ

รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิด 19 สะท้อนให้เห็นเทรนด์สำคัญ ๆ ในอนาคตที่เกิดจากพฤติกรรมและทัศนคติในการดำรงชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี บริการดิจิทัลใหม่ ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย โดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ next normal ที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจในอนาคต Global Trend ฉบับนี้ ขอหยิบยกเทรนด์ next normal มาอัปเดตกัน

Stay-at-home Economy

          สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโรคโควิด 19 ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนไป "บ้าน" จึงไม่ได้เป็นแค่ "ที่อยู่อาศัย" แต่ยังกลายเป็นออฟฟิศ ห้องประชุม ฟิตเนส หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถใช้งานผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย เทรนด์ดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า stay-at-home economy เช่น การพบปะสังสรรค์ผ่านแอปพลิเคชัน ธุรกิจ e-commerce บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน และเทคโนโลยีการชอปปิงผ่านประสบการณ์เสมือนจริง (virtual reality)

Touchless Society

          การดำเนินชีวิตในโลกยุค next normal จะมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยเป็นสำคัญ เทคโนโลยีจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อ "ลดการสัมผัส" ตัวอย่างเช่น ระบบการจัดส่งสินค้าแบบ non-contact delivery โดยจะวางพัสดุลงในภาชนะหรือสถานที่ที่ลูกค้ากำหนดไว้ล่วงหน้า ประตูที่มีเซ็นเซอร์เปิด - ปิดอัตโนมัติในพื้นที่สาธารณะ รูปแบบการจ่ายเงินแบบ e-payment หรือแนวคิดการออกแบบพื้นที่ธุรกิจที่สามารถให้บริการลูกค้าแบบปราศจากการสัมผัสใด ๆ แต่จะใช้เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง (voice recognition) หรือจำลองโลกเสมือนจริง (augmented reality) แทน

Regenerative Organic

          ประเด็นเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นหัวใจสำคัญของโลกยุค next normal ดังนั้น เทรนด์หนึ่งที่จะฉายภาพชัดขึ้นเรื่อย ๆ คือ มาตรฐานสินค้าเกษตรที่เรียกว่า "regenerative organic" ซึ่งไม่เพียงต้องปลอดสารพิษและปราศจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงมาตรฐาน คุณภาพดิน การคุ้มครองสัตว์ คุณภาพชีวิตเกษตรกร ความยุติธรรมด้านค่าแรง รวมถึงระบบฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

The Next Normal กับปัจจัยพื้นฐาน 10 ประการ

  1. อาหาร : เน้นการกินอย่างยั่งยืนที่ทั้งดีต่อสุขภาพและไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวรูปแบบการบริโภคอาหารสไตล์ plant forward เน้นส่วนผสมที่เป็นผักผลไม้ธัญพืชต่าง ๆ หรือเนื้อสัตว์ทางเลือก plant based meat จะได้รับความนิยมขยายเป็นวงกว้าง
  2. เงิน : คนไทยจะหันมาจับจ่ายผ่าน e-payment กันมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาทั้งในรูปแบบ e-money. card payment และ Internet & mobile banking เพื่อชำระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคการซื้อสินค้า e-comm รวมถึงชำระค่าโฆษณาผ่านการทำการตลาดในช่องทางโซเชียลมีเดีย e-commerce
  3. ที่อยู่อาศัย : smart home ที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้เราสามารถใช้งาน End ฟังก์ชันต่าง ๆ ในบ้านได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยจะกลายเป็นเรื่องพื้นฐานการสั่งเปิด-ปิดไฟและเครื่องปรับอากาศจะได้ทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ (home automation)
  4. เครื่องนุ่งห่ม : นอกจากจะต้องตอบสนองด้านความสวยงามสะท้อนภาพลักษณ์ของผู้สวมใส่แล้วแบรนด์ต่าง ๆ ยังให้คุณค่ากับการเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยเพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงมุมมองการใช้ชีวิตและทัศนคติที่ถูกส่งผ่านออกมาผ่านแฟชั่นการแต่งกาย
  5. ยานพาหนะ : ทั้งเรื่องรูปแบบของ” รถยนต์ยานยนต์ไร้คนขับหรือแม้กระทั่งรถยนต์ไฟฟ้าที่เคยเป็นสิ่งใหม่จะพบเห็นได้ทั่วไปในยุคหลังโควิด 19
  6. ยา : ทัศนคติของคนยุคหลังโควิด 19 แลที่มีต่อเรื่องสุขภาพจะมองหายาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามากกว่าการรักษาเมื่อสุขภาพเริ่มย่ำแย่ธุรกิจอาหารเสริมที่ช่วยทั้งเรื่องความงามและสุขภาพจึงโตขึ้นอย่างมหาศาล
  7. โซเชียลมีเดีย : จะเพิ่มขึ้นปรับเปลี่ยน 10 รูปแบบและมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายมีแนวคิดการตลาดเพื่อดึงดูดใจผู้ใช้งานมากมายและจะกลายเป็นความปกติใหม่ทั้ง rentking user generated content จากช่องทาง TIK TOK หรือ mermetic mela ด้วยการนำภาพหรือคลิปสั้นมาทำเป็นมีม "ที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะให้กับผู้พบเห็น
  8. โทรศัพท์มือถือ : เป็นอุตสาหกรรมแห่งเทคโนโลยีที่มีการอัปเดตนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำก็หันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันล่าสุดกับ iPhone 12 ที่ประกาศไม่ให้ที่ชาร์จแบตเตอรี่สำหรับลูกค้าที่ซื้อเครื่องใหม่เพื่อเป็นการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  9. สินค้าอุปโภคบริโภค FMCG : สินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติปราศจากสารปรุงแต่งอย่างลูตร organic หรือ natural จะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคมองหาบรรจุภัณฑ์แบบย่อยสลายได้หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดขยะส่วนเกินสามารถบริโภคและหมดไปจะกลายเป็นเรื่องปกติเพราะลดต้นทุนผู้ผลิตและไม่เหลือทิ้งเป็นภาระแก่ผู้บริโภค
  10. พลังงาน : พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนที่ แต่เดิมมีความสำคัญอยู่แล้วจะทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีของพลังงานทดแทนจะมีความก้าวหน้าและมีการพัฒนาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนของพลังงานเหล่านี้ลดลงโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงขยะ

*มิม (MEME) หมายถึงการเขียนการพูดท่าทางภาพล้อเลียนที่มีความหมายเชิงตลกหรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่นๆ ที่มักพบเห็นเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย

*FMCG หมายถึง Fast-Moving Consumer Goods หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่มีการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีราคาถูกจากต้นทุนที่ต่ามักเป็นสินค้าไม่คงทนที่ใช้แล้วหมดไปตัวอย่างเช่นน้ำยาล้างจานแชมพูสปูกระดาษชำระเครื่องดื่มหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

 

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย และ E-book