สำหรับกิจการที่มีการซื้อขายกับต่างประเทศนั้น มักจะได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหลาย ๆ ที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) ได้มีการกำหนดให้ปฎิบัติตามมาตราฐานการบัญชีฉบับที่ 21 เรื่อง ผลกระทบจากกรเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสาระสำคัญของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ ได้ระบุไว้เกี่ยวกับบัญชีสำหรับรายการที่เป็นเงินค่าต่างประเทศ และการแปลงค่างบการเงินของกิจการในต่างประเทศไว้ 3 เหตุการณ์ดังนี้
- ณ วันที่เกิดรายการค้า ให้แปลงค่าด้วย อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการ
- วันที่มีการรับ /จ่ายชำระหนี้ ระหว่างปี ให้แปลงค่าด้วย อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการ
- ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ให้แปลงค่าด้วย อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
ซึ่ง โปรแกรมบัญชีบริหารสำเร็จรูป Business Plus ERP สามารถช่วยนักบัญชีให้การจัดการเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทั้ง 3 เหตุการณ์ ให้เป็นเรื่องง่าย โดยมีตัวอย่างการบันทึกรายการดังนี้
1.การบันทึกผลต่างระหว่าง วันที่เกิดรายการค้า กับ วันที่มีการรับ/จ่ายชำระหนี้ จะถูกบันทึกเป็น กำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (Gains and Losses on Exchange Rate) ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ตัวอย่างการบันทึกบัญชี ณ วันที่เกิดรายการค้า และ วันที่รับ/จ่ายชำระหนี้
กรณีที่ 1 การบันทึกกรณีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
กิจการทำการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน โดยตกลงจ่ายชำระด้วยสกุลเงิน USD ในราคา 10,000 USD วันที่ 4 เมษายน 25xx (rate 32.00) จ่ายชำระวันที่ 4 พฤษภาคม 25xx(rate 30.00)
ณ วันที่เกิดรายการค้า วันที 4 เมษายน 25xx
Dr.ซื้อสินค้า 320,000.00
Cr.เจ้าหนี้การค้า 320,000.00
บันทึกบัญชี มูลค่าเงินที่ต้องจ่ายตามสกุลเงิน X อัตราแลกเปลี่ยน (10,000X32)
ณ วันที่จ่ายชำระหนี้ วันที่ 4 พฤษภาคม 25xx
Dr.เจ้าหนี้การค้า 320,000.00
Cr. Bank 300,000.00
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 20,000.00
*บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงินต่างประเทศ USD 10,000 x (30-32) = (20,000) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
กรณีที่ 2 การบันทึกกรณีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
กิจการทำการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน โดยตกลงจ่ายชำระด้วยสกุลเงิน USD ในราคา 10,000 USDวันที่ 5 สิงหาคม 2566 (rate 32.00 ) ชำาระวันที่ 9 กันยายน 2566 [rate 34.00)
ณ วันที่เกิดรายการค้า วันที 5 สิงหาคม 2566
Dr.ซื้อสินค้า 320,000.00
Cr.เจ้าหนี้การค้า 320,000.00
บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงิน X อัตราแลกเปลี่ยน (10,000X32)
ณ วันที่จ่ายชำระหนี้ วันที่ 9 กันยายน 2566
Dr.เจ้าหนี้การค้า 320,000.00
กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 20,000.00
Cr. Bank 340,000
*บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงินต่างประเทศ USD 10,000 x (34-32) = 20,000 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
2. การบันทึกการแปลงอัตราแลกเปลี่ยนตอนสิ้นปีและจ่ายในปีถัดไป ในกรณีที่มียอดหนี้คงค้าง ณ วันที่สิ้นงวด ที่ต้องยกยอดไปชำระในปีถัดไป ในทางบัญชีต้องทำการแปลงยอดหนี้คงค้าง เป็นอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตรา ณ สิ้นปี และทำการกลับรายการในต้นปีถัดไป
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดบัญชี
กรณี กิจการทำการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน ในราคา 10,000 USD วันที่ 1 ธันวาคม 2566 (rate 34.00) ชำระ 2 มกราคม 2567 (33.00) สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี วันที่ 31 ธันวาคม 2566 (rate 32.00)
เหตุการณ์ |
Rate |
มูลค่าตามสกุลเงินบาท |
กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
|
ผลต่าง
|
ณ วันที่เกิดรายการ |
34.00 |
340,000.00 |
0.00 |
- |
ณ วันสิ้นงวดบัญชี |
32.00
|
320,000.00 |
20,000.00 |
วันเกิดรายการ - วันที่สิ้นงวด (34-32) |
ณ วันที่ต้นงวดถัดไป |
34.00 |
340,000.00 |
20,000.00 |
กลับรายการผลต่าง ณ วันที่สิ้นงวดบัญชี |
กลับรายการผลต่าง ณ วันที่สิ้นงวดบัญชี
|
33.00 |
330,000.00 |
10,000.00 |
วันที่เกิดรายการค้า -วันที่ชำระหนี้ (34-33) |
ณ วันที่เกิดรายการค้า วันที่ 1 ธันวาคม 2566
Dr.ซื้อสินค้า 340,000.00
Cr.เจ้าหนี้การค้า 340,000.00
บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงิน X อัตราแลกเปลี่ยน (10,000X34)
ณ วันที่สิ้นงวด วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน บันทึก ด้วย เอกสาร JV
Dr.เจ้าหนี้การค้า 20,000.00
Cr. กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 20,000.00
*บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงินต่างประเทศ USD 10,000 x (34-32) = 20,000 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่เกิดขึ้นจริง
ซึ่งในงบกำไรขาดทุนของกิจการจะแสดงบัญชีกำไรขาดทุน ณ วันสิ้นงวดด้วยยอดที่ทำการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน
ณ วันที่ 1 มกราคม 2567 ทำการกลับรายการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ปรับปรุงไว้ เพื่อรับรู้ยอดหนี้เป็นเป็นอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการค้าเดิม และทำบันทึกผลต่างกำไร (ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ชำระเงินต่อไป
Dr. กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 20,000.00
Cr. เจ้าหนี้การค้า 20,000.00
ณ วันชำระเงิน วันที่ 2 มกราคม 2567
Dr.เจ้าหนี้การค้า 340,000.00
กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 10,000.00
Cr. Bank 330,000.00
*บันทึกบัญชี มูลค่าตามสกุลเงินต่างประเทศ ณวันสิ้นงวด กับ วันชำระหนี้ USD 10,000 x (34-33) = 10,000
ข้อมูลอ้างอิง GungGinkk School กุ๋งกิ๋ง สคูล