ในส่วนนี้ ขอนำเสนอเพื่อทำความรู้จักสถานะสต็อก 4 ประเภท เนื่องจากสินค้าแต่ละ SKU (SKU คืออะไร?) มีรูปแบบการขาย ความเร็วในการขาย ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้ง และ ปริมาณคงคลังที่แตกต่างกัน จึงทำให้ สินค้าเหล่านั้น ต้องการวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน ทำความรู้จักสถานะของสต็อก 4 แบบเพื่อให้คุณบริหารจัดการสินค้าคงคลังของคุณได้ดีขึ้น
1. สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks)
ตามชื่อเลยก็คือ มีมากเกินกว่าปริมาณในการขายมากกว่าหลายเดือน ซึ่งมากเกินจำเป็น ทำให้มีความเสี่ยงที่เงินจะมาจมในสินค้า หรือ ในระหว่างนี้อาจจมีการเปลี่ยนเเปลงของเทรนด์ในตลาดทำให้ความต้องการของสินค้าชนิดนี้ลดลง
ตัวอย่าง:
สินค้า A มีทั้งหมด 1,000 ชิ้นในคลัง
สินค้า A มียอดขาย 50 ชิ้นต่อสัปดาห์
ความสามารถในการจัดหาสินค้า (Lead Time)=4สัปดาห์(1เดือน)
→ หมายความว่า สินค้า A นี้สามารถขายได้ถึง 20 สัปดาห์ หรือ 5 เดือนเลยทีเดียว
เป็น สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks)
หากสต็อกสินค้าที่เป็น Over stocks มากๆ จะส่งผลถึงปริมาณเงินสดของธุรกิจที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นจำนวนสินค้าที่มากเกินความจำเป็น คำถามคือ ทำไมเราไม่ซื้อมาแค่ 200 ชิ้น หรือ 4สัปดาห์ (30 วัน) แล้วนำเงินส่วนต่างไปซื้อสินค้า หรือ ลงทุนในเรื่องอื่นแทนจะดีกว่าไหม ?
2.สินค้ากำลังจะไม่เพียงพอต่อการขาย (Low Stocks)
ตรงกันข้ามกับ สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks) Low Stocks หมายถึงว่า เรากำลังถือสต็อกสินค้าน้อยเกินไปเทียบกับยอดขาย เสี่ยงต่อสินค้ามีไม่เพียงพอ และ จำเป็นที่จะต้องรีบนำสต็อกสินค้าเข้ามาเติมได้แล้ว ถ้าหากเราวางแผนว่าจะขายสินค้านี้ต่อนั่น
ตัวอย่าง
สินค้า A มีทั้งหมด 200 ชิ้นในคลัง
สินค้า A มียอดขาย 100 ชิ้นต่อสัปดาห์
→ สินค้า A นี้สามารถขายได้อีกเพียงแค่ 2 สัปดาห์เอง
→ ถ้าหากว่า ช่วงเวลาในการใช้สั่งซื้อสินค้านี้อยู่ที่ 5 สัปดาห์ หมายความว่า สินค้ามีความเสี่ยงจะไม่เพียงพอต่อยอดขาย เราจึงเปลี่ยนสถานะสินค้านี้เป็น Low Stocks
ควรสังเกตการณ์ภาพรวมสต็อกสินค้าควบคู่ไปกับยอดขายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะลดเหตุการณ์สินค้าขาด อย่างเช่นในตัวอย่างข้างต้น ที่สินค้าเราอาจจะไม่เพียงพอต่อการขาย และ เสียโอกาสในการขายไปถึง 3 สัปดาห์เลยทีเดียวในกรณีนี้
3. สินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย (Dead Stocks)
สินค้าที่เป็น Dead stocks คือ สินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย แม้แต่ 1 ชิ้น ในช่วงเวลา เช่น 2 เดือน หรือ 60 วัน ที่ผ่านมา ถ้าหากว่ายังไม่เคยวิเคราะห์ว่ามีสินค้าชนิดนี้มีอยู่หรือไม่ แนะนำให้ลองวิเคราะห์ภาพสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย (Dead stocks) ออกมาเป็นสัดส่วนต่อสต็อกทั้งหมดดู
ตัวอย่าง
SME มีสินค้าคงคลังอยู่ทั้งหมด 10,000 ชิ้น
มีสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย ในช่วงเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา อยู่ 1,000 ชิ้น
→ สินค้า1,000 ชิ้นนี้จึงมาสถานะเป็น Dead stocks
→ Dead stock เท่ากับ 10% ของสต็อกสินค้าทั้งหมด มองว่าสถาณการณ์เริ่มส่งผลร้ายต่อธุรกิจล้ว เพราะเงินสด นั้นจมอยู่กับสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลยอยู่ถึง10% การจัดการDead Stocks คือ เปลี่ยนสต็อกสินค้าเหล่านั้น ให้กลับมาเป็นเงินสดให้กับธุรกิจของคุณ
4. สินค้าที่จะไม่ขายต่อในอนาคต (Delete Stocks)
คือ สต็อกของสินค้าที่ธุรกิจวางแผนว่าจะไม่ขายต่อไปอีกแล้วในอนาคต อันเนื่องมาจาก มีสินค้าใหม่จะมาวางขายแทนสินค้าชนิดนี้ สินค้าชนิดนี้ขายไม่ดี สินค้าตกรุ่น หรือเหตุอื่นๆ เช่น
มีสินค้าคงคลังอยู่ทั้งหมด 10,000 ชิ้น
มีสินค้าที่จะไม่ขายเเล้วอยู่เนื่องจากจะออก collectionใหม่ 2,000 ชิ้น
→ สินค้า2,000 ชิ้นนี้จึงมาสถานะเป็น Delete stocks
→ Delete stock เท่ากับ 20% ของสต็อกสินค้าทั้งหมด
หากไม่สามารถกำจัด Delete Stocks ออกไปได้ก่อนสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนนั้น จะส่งผลให้สินค้าใหม่ ไม่สามารถแสดงศักยภาพการขายออกมาได้อย่างเต็มที่ แถมทำให้ สินค้าที่เป็น Delete Stocks ไม่หมดออกไปจากคลังของเราสักที ทั้งๆที่วางแผนว่าจะไม่ขายสินค้านี้อีกต่อไปแล้ว และถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์นี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้สต็อกสินค้าของกิจการบวมมากขึ้นๆเรื่อย ไม่มีวันลดลง จนอาจเกิดเหตุที่ทำให้ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากเงินสดไปจมอยู่กับสต็อกสินค้าหมดแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม www.muchroomconsultancy.com
บทความน่าสนใจอื่นๆ
เคล็ดลับมือใหม่ หัดบริหารจัดการสต็อกแบบง่ายๆ
จัดการสินค้าขายไม่ออก-ระบายสินค้าค้างสต็อกอย่างไรดี-ให้คืนทุนมากที่สุด