แนะวิธีก้าวสู่โชห่วยพรีเมี่ยม

     “ร้านโชห่วย” หรือร้านค้าปลีกขนาดเล็กในชุมชน ถือได้ว่าเป็นขวัญใจของหมู่บ้าน ด้วยสินค้าที่หลากหลาย ใช้จริงในชีวิตประจำวัน เเถมความสนิทสนมกับเจ้าของร้าน ก็เชื้อเชิญให้เราเข้าไปใช้บริการทุกวัน เเต่สมัยนี้กลับลดลงมาก จนเราได้ยินกันบ่อยๆ ว่าใกล้จะอวสานร้านโชห่วยจริงหรือ...?

     เเม้ว่าจะมีการเข้ามาของร้านสะดวกซื้อ เข้าถึงคนได้ง่ายเเละภาพลักษณ์สวยงามกว่า รวมถึงเหล่า Hyper Market เเละ Modern Trade สมัยใหม่ แต่ก็ยังมีร้านโชห่วยที่สามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่ง เเม้จะอ่อนกำลังลงก็ตาม  

     ร้านค้าปลีกรายย่อยจะก้าวให้ทันยุคดิจิทัลเเละอีคอมเมิร์ซได้อย่างไร มีข้อเเนะนำเบื้องต้น ดังนี้

  • เก็บข้อมูล เลือกสินค้าและบริการที่ตรงใจคนซื้อ

ร้านค้าต้องหันมาสังเกตกลุ่มลูกค้าเเละมีการเก็บข้อมูลการซื้อขาย เพื่อนำไปสู่การจัดหาสินค้าที่ขายดีเเละขายได้ รวมถึงสอบถามความต้องการของลูกค้าเป็นประจำว่าอยากได้หรืออยากให้มีบริการหรือสินค้าอื่นๆ หรือไม่

  • จัดระเบียบ แบ่งหมวดหมู่ ให้สะดุดตา

ร้านค้าที่สะอาดเเละสวยงาม จะดึงดูดลูกค้าได้เสมอ รวมถึงการจัดวางสินค้าต้องเป็นระเบียบเเละหาง่าย อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม เเละบางสินค้าอาจจัดวางไว้ใกล้จุดเเคชเชียร์เพื่อกระตุ้นยอดขาย

  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ร้านค้าควรเพิ่มช่องทางทางการชำระเงินที่หลากหลายและทันสมัย เช่น QR Payment พร้อมเพย์ โมบายเเบงก์กิ้ง การจ่ายเงินผ่านบัตรเดบิทเเละบัตรเครดิตเครดิต รวมไปถึงการจัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย ด้วยโปรเเกรมสำเร็จรูปเเละเเอปพลิชั่นต่างๆ เพื่อวางเเผนธุรกิจได้ในระยะยาว

  • ใช้ประโยชน์จากโครงการภาครัฐ

ร้านโชห่วยพรีเมียม ต้องปรับตัวโดยใช้ประโยชน์จากโครงการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นของภาครัฐ เช่น นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธงฟ้าประชารัฐ โชห่วย 4.0 เเละสมาร์ทโชห่วย เป็นต้น

     ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์คิดค้นโครงการที่ชื่อว่า “โชห่วย 4.0” โดยเกิดจากความร่วมมือหลายฝ่ายคือกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไปรษณีย์ไทย ธนาคารออมสิน และธนาคาร ธกส. เพื่อให้ร้านโชห่วยได้ต้นทุนสินค้าราคาถูกลง เเละล่าสุดกับการปั้น “สมาร์ทโชห่วย”

     โดยปี 2020 กระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายส่งเสริมและผลักดันให้เกิดร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบรายใหม่และพัฒนาสู่การเป็นสมาร์ทโชวห่วยให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ 30,000 ราย เพื่อยกระดับธุรกิจ พร้อมขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านและชายแดนที่มีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยจำนวนมาก

     ร้านโชห่วยจะยังคงอยู่กับคนไทยต่อไป ต้องสู้และปรับตัวอีกมาก ในขณะเดียวกันการส่งเสริมของภาครัฐก็เป็นส่วนสำคัญ “ต่อลมหายใจ” ให้ธุรกิจดั้งเดิมเหล่านี้แข่งขันได้ในยุคดิจิทัล

 

ที่มา www.positioningmag.com