ผู้ใดประสงค์จำหน่ายซากสัตว์ดังต่อไปนี้ ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร กวาง หมูป่า สุนัข แมว นก ไก่ เป็ด ห่าน ไข่ของนก ไก่ เป็ด ห่าน ที่ใช้ทำพันธุ์ ต้องได้รับอนุญาต (ร.10) จากกรมปศุสัตว์ โดยผู้จำหน่ายต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ และต้องสวมเครื่องแต่งกายที่สุภาพ มีหมวกคลุมผมและผ้ากันเปื้อน
บทกำหนดโทษ
- ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ไม่แจ้งฆ่าสัตว์ (มาตรา31) มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เตือนหรือปรับไม่เกิน2,500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้จำหน่ายสัตว์ที่ตายเอง หรือสัตว์ที่ได้ฆ่าตามกฎหมายโดยไม่ผ่านการตรวจรับรอง (มาตรา 29) ฆ่าโค กระบือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินตัวละ 5,000 บาท เรียงตามรายตัวที่ฆ่าหรือทั้งจำทั้งปรับ สัตว์นอกจากโค กระบือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 2,500 บาท เรียงตามรายตัวที่ฆ่าหรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ที่ไม่มีใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ต้องมีหลักฐาน
- ใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ (แบบ ร.10)
- ใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายสัตว์ซากสัตว์ (แบบ ร.3 หรือแบบ ร.4)
- แบบตอบรับแจ้งการฆ่าสัตว์ตามประเภทชนิดเนื้อสัตว์(ฆจส.5-10,ฆจส.14)
- ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข ปี 2535
เนื้อสัตว์ที่มาจำหน่ายต้องปฏิบัติดังนี้
- เนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาต(มจส.2) หรือได้รับอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ตามกฎหมาย
- ต้องมีการประทับตราอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำโรงฆ่าสัตว์
- ต้องมีการตรวจเนื้อสัตว์โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์
- เนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่ายต้องไม่มีสารเร่งเนื้อแดง
สถานที่ยื่นขอรับรองและค่าธรรมเนียม
1.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์ หรือซากสัตว์ (แบบ ร.10) มีอายุ 1 ปี(ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี)
2.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ (แบบ ร.10) ฉบับละ 100 บาท(กรณีทั่วราชอาณาจักร)ใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ ฉบับละ 20 บาท (กรณีภายในจังหวัด)
การจัดการแผงที่ถูกสุขลักษณะ
- แผงจำหน่ายเนื้อสัตว์ต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง ทนทาน ผิวเรียบทำความสะอาดได้ง่าย และบริเวณที่วางจำหน่ายเนื้อสัตว์ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า60 ซม.
- แผงจำหน่ายเนื้อสัตว์ต้องสามารถของกันการปนเปื้อนและไม่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค
- มีก๊อกน้ำ หรืออ่างล้างมืออยู่บริเวณแผงจำหน่ายเนื้อสัตว์หรือบริเวณใกล้เคียง
- เนื้อสัตว์ที่วางจำหน่ายต้องจัดวางแยกเป็นระเบียบ แยกส่วนเนื้อสัตว์ออกจากเครื่องในสัตว์ (ยกเว้นกรณีขายไก่ตัวรวมเครื่องในสัตว์)
- มีถุงมือที่สะอาด หรือเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับบริการผู้ซื้อ เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์
- เขียง มีด และอุปกรณ์ที่สัมผัสกับเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ต้องสะอาดทำด้วยวัสดุคงทนทาน สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ง่าย
- หากมีการจำหน่ายเนื้อสัตว์ เป็นเวลานานควรมีตู้แช่เย็นเนื้อสัตว์เพื่อป้องกันมิให้เนื้อสัตว์เน่าเสีย
การขายเนื้อสัตว์ในวันพระผิดกฎหมายหรือไม่
- ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ขายเนื้อสัตว์ในวันพระ สามารถขายในวันพระได้
การขอใบอนุญาตให้ทำการค้าสัตว์หรือซากสัตว์ คลิก
ที่มา