Exit Interview มีประโยชน์ ... จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่

Exit Interview หรือ การสัมภาษณ์พนักงาน เพื่อขอข้อมูลและเหตุผลที่ลาออก ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่พนักงานได้ตัดสินใจลาออกไปแล้ว

 

          ในการทำ  Exit Interview จะเป็นประโยชน์หรือสูญเปล่า ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อทำการสัมภาษณ์ สำรวจแล้ว HR และ องค์กร ได้นำข้อเท็จจริงเหล่านั้น ไปแก้ไขนโยบาย หรือปรับใช้ในองค์กรหรือไม่ เพราะหากเพียงแค่ทำ แต่ไม่ได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้จริง ปัญหาการลาออกที่เกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ก็ไม่มีวันหมดไป 

 

ทำไมต้องทำ Exit Interview และมีประโยชน์อย่างไร

          "เพราะต้นทุนที่เกิดจากการสรรหา ค่อนข้างสูง"

กว่าจะรับสมัครพนักงาน สอนงาน กว่าจะเป็นงาน ส่วนนี้นับเป็นต้นทุนที่องค์กรต้องเจอ ดังนั้น การทำ Exit Interview เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ที่พนักงานลาออก แล้วนำมาวิเคราะห์ ปรับนโยบายภายในองค์กร เพื่อรักษาพนักงานย่อมดีกว่า และยังลดอัตราการลาออกในอนาคต แก้ปัญหาพนักงานลาออกได้ในระยะยาว

 

วิธีการของการทำ Exit Interview มี 2แบบ

1.การกรอบเอกสาร แบบฟอร์มสำรวจ 

          วิธีนี้พนักงานที่ให้ข้อมูลจะรู้สึกสบายใจ และสะดวกใจมากกว่า แต่ข้อมูลที่ได้ อาจจะไม่มากพอ หรือเป็นประโยชน์พอ เนื่องจากพนักงานที่ลาออก ไม่ได้เห้นความสำคัญส่วนนี้แล้ว 

2.การสัมภาษณ์ แบบ face-to-face

          ข้อดีคือจะทำให้องค์กรได้ข้อมู,ที่เป็นประโยชน์มาก ได้สังเกตพฤติกรรม สีหน้า ของพนักงาน แต่ก็มีผลเสีย คือพนักงานไม่สะดวกใจที่จะให้ข้อมูล เพราะกลัวจะมีปัญหาตามมาภายหลัง

 

Exit Interview ที่ไม่มีประโยชน์เกิดจากสาเหตุ

1.พนักงานหลีกเลี่ยงที่จะบอกความจริง เพราะ ไม่อยากมีปัญหาในอนาคต เผื่อได้กลับมาร่วมงานกันอีก อีกทั้งในเมื่อจะลาออกแล้ว ก็ต้องการจากกันไปด้วยดี

2.พนักงานหลีกเลี่ยงที่จะบอกความจริง เพราะกลัวคนที่ยังทำงานอยู่เดือดร้อน การลาออกเพราะเข้ากับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานไม่ได้ แต่พนักงานไม่ได้บอกความจริง เพราะกลัวว่าคนที่ยังทำงานอยู่จะเดือดร้อน หรือตกที่นั่งลำบากไปด้วย

3.พนักงานรู้สึกว่า HR ไม่มีความเป็นกลาง จึงไม่อยากบอกเล่าเหตุผลที่แท้จริงออกไป

4.ปัญหาที่พนักงานบอก ถูกบิดเบือน และไม่ไปถึงฝ่ายบริหาร ทำให้ไม่เกิดการแก้ปัญหาที่แท้จริง 

 

          แก้ปัญหาให้ตรงจุด ลดการลาออก โดยการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับองค์กร เปิดโอกาสให้พนักงานได้เสนอความคิดเห็น ไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำมาเป็นนโยบาย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์กร วิธีนี้จำทำให้พนักงานเกิดการมีส่วนร่าวมและอยากทำงานอยู่ในองค์กรมากขึ้น

 

ที่มา the practica