มีสถิติจาก พบว่า 80% ของผู้สมัครงานที่ส่งเรซูเม่จะไม่ถูกเรียกสัมภาษณ์ ดังนั้น หากคุณคือ 20% ที่เหลือที่ผ่านการประเมินรอบแรก ใบสมัครงานเข้าตากรรมการ และกำลังจะเข้าสู่ด่านต่อไปคือการ “สัมภาษณ์งาน” ร่วมกับคู่แข่งที่ไม่รู้ว่ามีอีกกี่คน
และสำหรับผู้สัมภาษณ์งานอาจเคยพบกับผู้สมัครงานที่โกหกในการสัมภาษณ์งาน หลอกให้ผู้สัมภาษณ์งานเชื่อว่าสามารถทำงานได้ แต่พอรับเข้ามากลับไม่เป็นอย่างที่คุยไว้ วิธีการประเมินผู้สมัครงานที่ได้รับความนิยมและเชื่อถือว่าสามารถวัดพฤติกรรมและความเหมาะสมกับองค์กรของผู้สมัครงานได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งก็คือ การสัมภาษณ์งานเชิงพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยล้วงลึกถึงพฤติกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สมัครงานได้เป็นอย่างดี
น้องบีพลัส มี 5 ข้อ ที่ทำให้การสัมภาษณ์งาน ล้มเหลว ที่ทั้งผู้สมัคร และผู้สัมภาษณ์ต้องรู้ไว้ มาฝากกัน
- การสัมภาษณ์ควรเป็นการ “แลกเปลี่ยนข้อมูล” ทำความรู้จักโดยสื่อสารให้ชัดเจน และตรงประเด็นที่ต้องการสื่อสารกัน ไม่ใช่นำเสนอเฉพาะด้านดี เพราะหลายครั้งผู้สมัครมักจะมองว่าการสัมภาษณ์คือการขายตัวเองให้องค์กรเลือก ในขณะที่องค์กรก็นำเสนอจุดเด่นๆ ให้คนสนใจ แต่กลับมองข้ามเรื่องความคาดหวังหรือปัญหาที่ต้องเจอ
- สัมภาษณ์อย่างเดียวอาจไม่พอ ควรมีแบบทดสอบ ช่วยให้เห็นวิธีแก้ปัญหาหรือทักษะของผู้สมัครก่อนเริ่มงานจริง
- การให้เกียรติกันสำคัญเสมอ อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เป็นจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยมาก เช่น นัดแล้วไม่มาตามเวลา หรือการสัมภาษณ์แบบคุยไปด้วย เที่ยวไปด้วย ทำธุระไปด้วย
- ทำความเข้าใจความต้องการของฝ่ายตรงข้าม การรู้ถึงสาเหตุที่ผู้สมัครอยากย้ายงาน
- ด่วนตัดสินแค่จากประสบการณ์ทำงาน ทัศนคติที่ดีก็สำคัญไม่แพ้ประสบการณ์ทำงาน ความเก่งพัฒนากันได้ผ่านระบบการฝึกอบรม แต่ทัศนคติคือสิ่งที่ปลูกฝังกันยาก
ที่มา reeracoen