ใบขับขี่ มีกี่ประเภท และค่าธรรมเนียมของแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

"ใบขับขี่คือบัตรประจำตัวสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องยืนยันว่า บุคคลผู้นั้นมีศักยภาพพอที่จะขับยานพาหนะดังกล่าวได้"

ใบขับขี่จะถูกแยกออก เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล): คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานแบบส่วนบุคคลรวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้เช่นเดียวกัน (เฉพาะธุรกิจส่วนตัว) แต่จำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง
  • ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท): คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานได้ทุกประเภท สามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนักการขนส่ง รวมถึงใช้เพื่องานรับจ้างได้

 

          น้องบีพลัสจะพามาดูกันเลยว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท และ แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

  • ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว

    เป็นใบขับขี่ใบแรกสุดที่คุณจะได้รับจากการทำใบขับขี่ โดยจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า และค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าใบขับขี่แบบทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นใบผ่านทางก่อนที่จะได้ใบขับขี่ นั่นเอง

    โดยใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว สามารถจำแนกได้ 3 แบบ โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
    อายุการใช้งาน: 2 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 100

    ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) ชั่วคราว
    อายุการใช้งาน: 2 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 50

    ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
    อายุการใช้งาน: 2 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 50

 

  • ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป

    หากคุณใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุใบขับขี่ คุณจะได้รับใบขับขี่รถยนต์แบบใช้งานยาวๆ 5 ปีไปเลยนั่นเอง

    โดยใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 500 บาท

    ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
    อายุการใช้งาน: 3 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 300 บาท

 

  • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก)

    สำหรับรถยนต์สามล้อ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก ก็มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อคุณใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุ คุณจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานยาวๆเหมือนกันนั่นเอง

    โดยใบขับขี่รถยนต์สามล้อ สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท

    ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ
    อายุการใช้งาน: 3 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 150 บาท

 

  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์

    สำหรับรถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ก็มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อคุณใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุ คุณจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานยาวๆ ด้วยเช่นเดียวกัน

    โดยใบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท

    ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
    อายุการใช้งาน: 3 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 150 บาท

 

  • ใบขับขี่รถบดถนน

    สำหรับใบขับขี่รถบดถนนนั้น ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท

 

  • ใบขับขี่รถแทรกเตอร์

    รถแทรกเตอร์นั้นถึงแม้จะใช้งานเพื่อการทำเกษตรกรรม แต่เนื่องจากเป็นรถที่ต้องใช้ความชำนาญในการบังคับสูง จึงจำเป็นที่จะต้องสอบใบขับขี่ด้วยเช่นกัน โดยมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท

 

  • ใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ

    เป็นใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โดยมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    อายุการใช้งาน: 5 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 100 บาท

 

  • ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ

    ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่าใบขับขี่สากล เป็นใบอนุญาตให้คุณสามารถใช้ขับขี่ยานพาหนะนอกประเทศไทยได้ โดยผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่สากลจำเป็นจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลร่วมด้วยจึงจะได้รับการอนุมัติ

    มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้

    อายุการใช้งาน: 1 ปี
    อัตราค่าธรรมเนียม: 500 บาท

 

ที่มา เงินติดล้อ