เกรียนคีย์บอร์ด ระวังตกงาน

          การเกรียนคีย์บอร์ดด่านายจ้างหรือโพสต์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อความเชื่อถือของคุณ และส่งผลกระทบ ในสถานที่ทำงาน หากคุณมีปัญหากับนายจ้างหรือบริษัท ควรพยายามแก้ไขข้อพิพาทโดยการสนทนาหรือหาทางแก้ไขโดยไม่ต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อการทำงานอย่างราบรื่น และเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในระยะยาวหากยังต้องทำงานร่วมกัน

          โพสต์ถึงบริษัท แอบด่าเจ้านายบนโซเชียลต้องระวัง เพราะอาจผิดกฎหมาย จนทำให้ถูกเลิกจ้างได้ แถมยังไม่ได้รับเงินชดเชยอีกด้วย เพราะถือว่าเป็นแพลทฟอร์มสาธารณะ อาจเข้าข่ายทำให้ผู้อื่นเสียหายได้

          ตามกฎหมายหมวด 11 ค่าชดเชย มาตรา 119 ได้ระบุว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็น ต้องตักเตือน
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวัน หยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ”

          ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากกฎหมายว่าด้วยเรื่องค่าชดเชยแล้ว จะพบว่า การที่ลูกจ้างโพสต์ด่าเจ้านายหรือบริษัทลงในอินเทอร์เน็ต อาจเข้าข่ายความผิด มาตรา 119 (2) “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” นั่นเอง

 

ที่มา กฎหมายแรงงาน