การยกเลิกการลาออกหลังจากที่นายจ้างได้อนุมัติแล้วมักจะมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด และไม่ใช่ทุกที่จะสามารถทำได้ ควรติดต่อนายจ้างขออภัยและอธิบายสาเหตุที่ต้องการยกเลิกการลาออกให้เข้าใจ แต่ก็อาจไม่สามารถยกเลิกได้ตามที่คาดหวังได้ทุกครั้ง อนที่จะยื่นใบลาออก ลูกจ้างก็ควรทบทวนและวางแผนให้แน่ชัดเสียก่อน เพราะหาก อยากจะยกเลิกการลาออกแต่ นายจ้าง ไม่ให้กลับเข้าทำงาน ไม่ให้ทำงานต่อนายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างทั่วไป กฎหมายได้บังคับให้นายจ้างจะต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานไว้ ว่านายจ้างมีเหตุใดบ้างที่ทำให้สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง โดยปกติแล้วก็จะมี
- กรณีการเกษียณอายุ
- การลาออก
- การตายของลูกจ้าง
- กรณีการเลิกจ้างโดยจะมีทั้งประเภทจ่ายค่าชดเชยกับไม่จ่ายค่าชดเชย
บทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 บัญญัติว่า
“ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์เลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายการเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง”
เมื่อลูกจ้างคนใดคนหนึ่งได้ยื่นใบลาออกไปยังนายจ้าง เนื่องจากการเลิกสัญญาในทางกฎหมายถือเป็นเรื่องใหญ่ เป็นการสิ้นสุดนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งเมื่อได้บอกเลิกสัญญาไปแล้ว กฎหมายจึงไม่อนุญาตให้คู่สัญญานั้นสามารถเพิกถอนการบอกเลิกสัญญาได้ นั่นหมายถึงหากลูกจ้างลาออกแล้ว การจะขอยกเลิกกลับมาทำงานใหม่หรือนัดอายุงานต่อนั้น จึงเป็นสิทธิ์ของนายจ้างในการพิจารณา แต่ในทางปฏิบัติในการจ้างแรงงานแล้ว หากนายจ้างยินยอมให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้ ก็คงเพียงใช้วิธีฉีกใบลาออกทิ้ง แล้วทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ทำได้ เช่นกัน
ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน