สิทธิวันลาพักร้อน ที่ HR ควรรู้

วันลาพักร้อนหรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ประกอบการ และ  HR ต้องเจอ แต่ด้วยนโยบายของแต่ละบริษัทนั้น มีการให้สิทธิวันลาร้อนแตกต่างกันไป ดังนั้น HR จึงต้องทราบสิ่งที่ควรรู้พื้นฐานกฎหมายว่าได้บัญญัติไว้อย่างไรในสิทธิของนายจ้าง และ ลูกจ้าง ก่อน โดยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติว่า

(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

(2) ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ 

(3) นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้

(4) สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้

หากสรุปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานอาจสรุปให้เข้าใจง่ายๆว่า ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับวันลาพักร้อน หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 6 วันต่อปี โดยต้องไม่น้อยกว่า 6 วันตามที่กฎหมายกำหนดนั้น บางบริษัทแม้ลูกจ้างจะทำงานไม่ครบ 1 มี บริษัทอาจให้สิทธิวันลาพักร้อนกับลูกจ้างเลยตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน หรือหลังผ่านทดลองงานไปแล้วก็ย่อมได้  ทั้งนี้ก็แล้วแต่ระเบียบ นโยบายของแต่ละบริษัท   หรือ บางกิจการให้สิทธิเฉลี่ยเป็นสัดส่วนก็มี เช่น

ตัวอย่างให้สิทธิวันลาพักร้อนแบบเฉลี่ยตามสัดส่วน

1.ได้รับสิทธิวันลาพักร้อนทันที เมื่อเริ่มงาน

นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนเลยตั้งแต่นาย B เริ่มงาน โดยเฉลี่ยให้ตามเดือน เช่น นาย B เริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่โดยปกติ บริษัท สวัสดี จำกัด ให้วันลาพนักงานคนละ 6 วันต่อปี

กรณีที่ 1 ทำครบ 1 เดือน (1 กรกฏาคม  2565) นาย B ก็จะได้วันลาพักร้อน 0.5 วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

กรณีที่ 2 ทำครบ 4 เดือน (1 ตุลาคม  2565) นาย B ก็จะได้วันลาพักร้อน 2 วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

กรณีที่ 3 ทำครบ 1 ปี (30 มิถุนายน 2566) นาย B ก็จะได้วันลาพักร้อนครบ 6 วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

2.ได้รับสิทธิวันลาพักร้อนทันที เมื่อผ่านโปรหรือเมื่อผ่านช่วงทดลองงาน

นายจ้างจะให้วันลาพักร้อน ก็ต่อเมื่อนาย B ผ่านช่วงทดลองงานหรือผ่านโปรแล้ว โดยเฉลี่ยให้ตามเดือน นับตั้งแต่เดือนแรกที่มาทำงาน เช่น นาย B เริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ผ่านทดลองงานในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 แต่โดยปกติบริษัท สวัสดี จำกัด ให้วันลาพนักงานคนละ 6 วันต่อปี

กรณีที่ 1 ทำครบ 1 เดือน (1 กรกฏาคม  2565) นาย B จะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ผ่านโปร

กรณีที่ 2 ทำครบ 2 เดือน (1 สิงหาคม 2565) นาย B จะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ผ่านโปร

กรณีที่ 3 ทำครบ 4 เดือน (1 ตุลาคม  2565) นาย B จะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ครบโปร ต้องนับเดือนที่1 หลังจากพ้นโปร

กรณีที่ 4 ทำครบ 5 เดือน (1 พฤศจิกายน 2565) นาย B จะได้วันลาพักร้อนครบ 2.5วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

กรณีที่ 5 ทำครบ 8 เดือน (1 กุมภาพันธ์  2566) นาย B จะได้วันลาพักร้อนครบ 4 วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

กรณีที่ 6 ทำครบ 1 ปี (30 มิถุนายน  2566) นาย B จะได้วันลาพักร้อนครบ 6 วัน

ตัวอย่างการคำนวณ

ทั้งนี้ ในปีต่อๆไป หากบริษัทมีนโยบายให้วันลาพักร้อนแก่พนักงาน เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปีก็ทำได้ หรือจะให้วันลาพักร้อน มากกว่าในตัวอย่าง ก็ย่อมได้ หรือจะกำหนดการให้วันลาที่เฉลี่ยต่างไปจากนี้ก็ย่อมได้อีกเช่นเดียวกันเพียงแต่ต้องระวังไว้เสมอว่า หากพนักงานทำงานครบ 1 ปีแล้ว พนักงานต้องได้รับสิทธิวันลาพักร้อนไม่ต่ำกว่า 6 วัน/ปี เป็นอันขาด มิเช่นนั้นบริษัทอาจถูกฟ้องร้องต่อศาลได้ เพราะเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พรบ. คุ้มครองแรงงาน

 

นอกจากกรณีดังกล่าวข้างต้นยังมีอีกกรณีที่หลายบริษัท อนุญาตให้พนักงาน ทบวันลาพักร้อนไปใช้ในปีถัดไป หรือเก็บสะสมวันลาพักร้อนไว้ข้ามปีได้ ในกรณีนี้ไม่ได้มีระบุไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ชี้แจงเพิ่มเติมไว้ว่า สามารถทำได้ ทบได้ สะสมได้ ตามแต่นโยบายของแต่ละบริษัท แต่ต้องไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย

 

และอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือหากลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้าง สิทธิวันลาพักร้อนสามารถนำมาใช้อย่างไรได้บ้าง

โดยในกรณีนี้ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ได้มีระบุไว้ว่า

“ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้น เป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา 30”

โดยจะแบ่งสิทธิวันลาพักร้อนเป็น 2 ส่วนคือ

1.สิทธิพักร้อนสะสม ถ้าพนักงานมีวันลาพักร้อนสะสมอยู่เท่าไหร่ก็สามารถยื่นใบลาออก พร้อมทั้งยื่นขอลาพักร้อนสะสมตามสิทธิที่มีอยู่ได้ ถ้าบริษัทไม่อนุมัติให้ใช้สิทธิพักร้อนสะสม บริษัทก็ต้องจ่ายคืนกลับมาเป็นเงินตามจำนวนวันลาพักร้อนสะสมที่พนักงานมีสิทธิอยู่

เช่น บริษัท สวัสดี จำกัด กำหนดให้พนักงานมีสิทธิพักร้อนได้เมื่ออายุงานครบ 1 ปี  นาย B เริ่มงาน วันที่ 1 เมษายน 2564 ทำงานครบ 1 ปี วันที่ 31 มีนาคม 2565 เริ่มได้สิทธิพักร้อน วันที่ 1 เมษายน 2565 จำนวน 6 วัน

2.สิทธิพักร้อนตามส่วนในปีที่ลาออก หากพนักงานยื่นใบลาออกในปีใด สิทธิในการลาพักร้อนตามส่วน (หรือ prorate) ในปีที่ลาออกนั้นจะถูกยกเลิกทันที พนักงานจะไม่มีสิทธิในส่วนนี้ เพราะมาตรา 67 ของกฎหมายแรงงานวรรคแรกไม่ได้พูดถึงการให้สิทธิลูกจ้างตามส่วนในปีที่ลาออกไว้ ดังนั้นบริษัทมีสิทธิไม่อนุมัติให้ลาพักร้อนตามส่วน(prorate) ในปีที่พนักงานลาออกได้ และไม่ต้องจ่ายค่าพักร้อนตามส่วนในปีที่พนักงานลาออกอีกด้วย

ขยายความส่วน Pro rate วันพักร้อน นั้นคือ จำนวนวันพักร้อนตามสิทธิพนักงาน คำนวณจากระยะเวลาทำงานตามสัดส่วน (pro rate)

ตัวอย่างเช่นบริษัท สวัสดี จำกัด ให้สิทธิลาพักร้อน 6 วัน ต่อปี คำนวณสัดส่วนตั้งแต่วันผ่านทดลองงานจนถึง สิ้นปี 31 ธ.ค.2565

กรณีที่ 1 เมื่อผ่านทดลองงาน

Question: พนักงานผ่านทดลองงาน 31 พ.ค. 2565 ในปี 2565 พนักงานมีสิทธิพักร้อนได้กี่วัน

Answer: พนักงานมีสิทธิได้วันลาพักร้อน 3.5 วัน

กรณีที่ 2 คำนวณเมื่อลาออก

Question: ถ้าพนักงานลาออก 31 กรกฎาคม 2565 มีสิทธิใช้พักร้อนได้กี่วัน

หากพนักงานยื่นขอลาออกเอง บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าพักร้อนตามส่วนในปีที่พนักงานลาออกได้

 

Business Plus HRM ผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ HR และพนักงาน จัดการเรื่องวันลาพักร้อนได้ง่ายๆ

  • กำหนดจำนวนครั้งหรือจำนวนวันในสิทธิ์ลาได้อย่างละเอียดและตรวจสอบทุกขั้นตอน เพื่อคำนวณให้อัตโนมัติ
  • โปรแกรมจะบันทึกหักเงินโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการลาเกินสิทธิ์
  • สะสมสิทธิ์การลาพักร้อนได้
  • เรียกดูยอดคงเหลือหรือยอดใช้สิทธิ์การลาในแต่ละพนักงานได้
  • มีรายงานครบถ้วนเรื่องสิทธิ์การลาและรายงานวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลงานพนักงาน

เสริมการทำงานให้ตอบโจทย์ยุค New normal ด้วยการยื่นขอลาผ่านเว็บ Bplus e-Premium ส่วนบริหารจัดการขอลา(e-Leave)  หรือ Application HRM Connect โดยพนักงานสามารถยื่นเรื่องลาได้ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ทุกทีทุกเวลา พร้อมตรวจสอบสิทธิ์ของตัวเองได้ทันที

 

อ้างอิง

1.พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานปี 2541

2. Flash HR Blog https://www.flash-hr.com/blog/vacation-leave-thai-labour-law

3. ข้อหารือกฏหมายแรงงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน http://legal.labour.go.th/attachments/article/166/60_10001.pdf