การจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีอัตราสูงมาก เพราะการพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ทำให้นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานจำนวนมาก การจ้างแรงงานต่างด้าวมีขั้นตอนและกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและกฎหมายการจ้างงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบ
น้องบีพลัสรวบรวมเกร็ดความรู้ จ้างแรงงานต่างด้าว ว่าต้องทำอะไรบ้าง มาฝากกัน
1.ต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น ต้องทำตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU หากไม่มีถือว่าเป็นการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย
- ต้องยื่นเอกสาร DEMAND LETTER หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา
- ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากเอเจนซี่ที่ต่างประเทศ
- แจ้งที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมง
- แจ้งการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าวภายใน 15 วัน
- ขั้นตอนสุดท้ายยื่นใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพภายใน 30 วันและยื่นใบรับรองแพทย์ที่สำนักงานจัดหางาน
2.ต้องทำ MOU สามารถทำผ่านบริษัทจัดหาแรงงาน
มีบริษัทจัดหาแรงงานที่พร้อมช่วยดำเนินเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและครบถ้วน และมีบริการให้คำปรึกษาแก่นายจ้างและแรงงานจากผู้เชี่ยวชาญรอบด้านที่พร้อมดูแลตลอดอายุสัญญา
3.ต้องผ่านการอบรมก่อนเริ่มทำงาน ต้องเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแรงงานจะได้รับการอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ และได้รับการตรวจสอบคัดกรองก่อนที่จะอนุญาตให้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เมื่อผ่านการอบรมก็จะได้รับใบอนุญาตทำงาน
4.ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน
การตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติเพื่อขอใบรับรองแพทย์สำหรับยื่นทำ Work Permit ต้องมีรายการตรวจ ดังนี้
-
โรคเรื้อน / Leprosy
-
วัณโรคระยะอันตราย / Advandced Pulmonary Tuberculosis
-
โรคยาเสพติดให้โทษ / Drug addiction
-
โรคพิษสุราเรื้อรัง / Chronic alcoholish
-
โรคเท้าช้าง / Elephantiasis
-
โรคผิวหนังอันน่ารังเกียจ
-
โรคซิฟิลิส / syphilis
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก !!
5.ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- ค่าหนังสือเดินทาง
- ค่าตรวจสุขภาพ
- ค่าใบอนุญาตทำงาน
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันสังคม ค่าประกันสุขภาพ
6.ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น กรณีที่มีการอนุญาตให้จ้างแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แรงงานต้องอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย
7.ต้องทำประกันสังคมทุกคน แรงงานต่างด้าวอยู่ไทยต้องส่งประกันสังคมพร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว แต่ต้องขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย หากทำประกันสังคมครั้งแรก จะต้องซื้อประกันสุขภาพแบบ 3 เดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องเป็นสมาชิกประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก !!
8.ต้องรายงานตัวทุก 90 วัน ต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก !!
9.ต้องได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับแรงงานไทย โดยราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด
10.ต้องได้รับโทษถ้าไม่มีใบอนุญาต
- นายจ้าง มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน หากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี
- ลูกจ้าง โทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน และจะถูกส่งออกนอกราชอาณาจักร นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
ที่มา jobsworkerservice