“นายจ้างเรียกให้ลูกจ้างเข้าร่วมประชุมหลายต่อหลายครั้ง แต่ลูกจ้างปฏิเสธโดยอ้างว่ามีธุระและมีอุปสรรคในการเข้าไปทำงาน นายจ้างจึงเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่” สิ่งที่นายจ้างทำ เหมาะสมหรือไม่?

คดีนี้เกิดขึ้น ณ สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ลูกจ้างดำรงตำแหน่งหัวหน้างานสำนักงานทรัพยากรบุคคลได้รับข้อความ SMS จากนายจ้าง ให้เข้าประชุมเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ณ สถาบันการศึกษา แต่ลูกจ้างไม่สามารถเข้าประชุมได้ โดยอ้างว่าน้ำท่วมหน้าสถาบัน และตัวลูกจ้างอายุเยอะ ไม่สามารถเดินลุยน้ำเข้าไปสถาบันได้ ต่อมานายจ้างได้ส่งข้อความ SMS มาให้ลูกจ้างอีกครั้ง โดยมีใจความว่า ให้เข้าไปประชุมที่บ้านพักอธิการบดี สะดวกหรือไม่ ลูกจ้างปฏิดสธโดยอ้างว่าวันนั้นตนต้องเดินทางไปต่างจังหวัดกับครอบครัวจึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ต่อมาเมื่อลูกจ้างกลับเข้ามาทำงาน กลับได้รับหนังสือเลิกจ้างโดยให้เหตุผลว่าละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันควร พร้อมทั้งฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง ลูกจ้างไม่ยอมจึงร้องต่อศาลว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คดีนี้ศาลท่านเห็นว่า ลูกจ้างมีตำแหน่งเป็นนักบริหารระดับสูงคนหนึ่งที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่สำคัญในการให้บริการทรัพยากรบุคคลในหน่วยงาน ดูแลงานบุคคล สร้างแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจในการทำงาน เมื่อเกิดอุทกภัยและพนักงานลูกจ้าง เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการทำงาน ย่อมอยู่ในภารกิจที่ฝ่ายบุคคลจะต้องดูแลแก้ไขปัญหาด้วย ไม่มากก็น้อย ตามความจำเป็นของสถานการณ์ นายจ้างในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามสัญญาที่จะต้องดูแลนักศึกษาที่มาใช้บริการของสถาบัน ดังนั้นโดยตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้าง และสภาพอุทกภัยที่เกิดขึ้นย่อมมีความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ที่นายจ้างกับลูกจ้างต้องร่วมกัน

ข้ออ้างลูกจ้างยังไม่มีเหตุผลที่สมควรและเพียงพอที่จะปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโดยชอบของนายจ้าง เป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

ที่มา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

6 สาเหตุถูกเลิกจ้าง หมดสิทธิรับค่าชดเชย และเงินทดแทนกรณีว่างงาน

ซับคอนแทรก ถูกส่งตัวลูกจ้างกลับ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง

ด่าลูกค้าด้วยคำหยาบคาย แม้ลูกค้า”ไม่ได้ยิน” ก็เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้รับมอบกระทำแทนนายจ้าง สั่งให้พนักงานออกจากงาน นายแจ้งต้องจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างไหม

ลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์และหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้หรือไม่?

หนังสือเตือน ผิดซ้ำเลิกจ้างได้ทันทีหรือต้องบอกอีกสักทีก่อนเลิกจ้าง

เตือนด้วยวาจา ไม่ถือเป็นการเตือน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

เบิกค่าน้ำมันไม่ตรงกับ GPS เป็นการทุจริต เลิกจ้างได้

เมื่อลูกจ้างได้เก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าแต่กลับไม่ยอมส่งเงินที่ได้รับนั้นให้แก่นายจ้างตามระเบียบทันที จนเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างสมควรถูกเลิกจ้างหรือไม่

เลิกจ้าง นายจ้างสามารถหักภาษีและประกันสังคมได้หรือไม่

เลิกจ้างเพราะขาดมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ใช่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เลิกจ้างเพราะทำทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทเสียหาย ?

เลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ สามารถทำได้ หรือไม่