หนี้สูญ

ลูกหนี้ที่มีแนวโน้มเก็บเงินไม่ได้ มักเป็นปัญหาให้หลายๆ กิจการได้หนักใจกัน การจำหน่ายหนี้สูญอาจเป็นกลยุทธ์ทางการเงินที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและปรับโครงสร้างงบการเงินของบริษัทให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

หนี้สูญ ประเด็นการจำหน่าย

  • ลูกหนี้มีจำนวนไม่เกิน 2 แสนบาท
  • ลูกหนี้มีจำนวนไม่เกิน 2 ล้านบาท
  • ลูกหนี้มีจำนวนเกิน 2 ล้านบาท

ตารางการจำหน่าย หนี้สูญ

วิธีการทวงถาม

ลูกหนี้มีจำนวน

ไม่เกิน 2 แสนบาท

ลูกหนี้มีจำนวน

ไม่เกิน 2 ล้านบาท

ลูกหนี้มีจำนวน

เกิน 2 ล้านบาท

1. ทวงถามด้วยตนเอง

ต้องดำเนินการจนถึงที่สุด โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชำระหนี้ โดยปรากฎว่า

(1) ลูกหนี้ตาย/สาบสูญและไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้

(2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และเจ้าหนี้อื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้

2.ฟ้องร้องในคดีแพ่ง ไม่ต้องดำเนินคดีหากมีหลักฐานกาทวงถามตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากจะฟ้องต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องแล้ว ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้สูญภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุด โดยศาลมีคำสั่ง/คำบังคับแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดๆชำระหนี้ได้
3.ฟ้องร้องในคดีล้มละลาย

ไม่ต้องดำเนินคดีหากมีหลักฐานการทวงถามตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากจะฟ้องต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องแล้ว ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้สูญภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ต้องดำเนินคดีถึงที่สุด

1. มีการประนอมหนี้โดยศาลมีคำสั่ง เห็นชอบ

2. ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคล ล้มละลายต้องมีการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว

4.กรณีปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ

หนี้ในส่วนที่ได้ปลดหรือประนอมหนี้ให้ลูกหนี้ ให้จำหน่ายหนี้ โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีที่ 1 ถึงวิธีที่ 3 ข้างต้น

 

ที่มา เพจ Dharmniti Seminar & Training