ขายอาหาร เงินเชื่อ จ่ายเดือนละครั้ง ร้านอาหาร และร้านกาแฟ ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

►กรณีเปิดร้านขายอาหาร และมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากร้านมีการขายอาหารเป็นเงินเชื่อ แต่ละวันจะส่งอาหารให้ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทตามรายการที่สั่งซื้อ และให้ร้านสรุปค่าอาหารและวางบิลเรียกเก็บเงินเดือนละครั้ง

►กรณีเช่นนี้ร้านจะสามารถออกใบกำกับภาษีเมื่อได้ชำระเงินได้หรือไม่
หรือร้านต้องออกใบกำกับภาษีทุกวันตามที่บริษัทลูกค้าสั่ง

          กรณีเปิดร้านขายอาหาร และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยประกอบกิจการ “ภัตตาคาร” ได้แก่กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)
ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร และตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อกิจการ “ได้รับชำระราคาค่าบริการ”
         ดังนั้น กรณีมีการขายอาหาร (ให้บริการ) เป็นเงินเชื่อ คือ แต่ละวันจะส่งอาหารให้ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทตามรายการที่สั่งซื้อ และให้ร้านสรุปค่าอาหารและวางบิลเรียกเก็บเงินเดือนละครั้ง
         กรณีเช่นนี้ร้านอาหาร มีสิทธิถออกใบกำกับภาษีเมื่อได้ชำระเงินได้ ตามมาตรา 78/1 (1) ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ได้


 

เครดิต อาจารย์ สุเทพ พงษ์พิทักษ์

 

ที่มา  :เพจบัญชีภาษีเชิงรุก