“ขายของดี แต่เงินหายไปไหน? คือปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ส่วนใหญ่กำลังประสบ คุณกำลังเจอปัญหานี้อยู่หรือไม่ ถ้าใช่มาหาคำตอบไปพร้อมกัน”
ปัญหาทางการเงินที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เจอ มักจะเกิดจากการขาดการจัดการทางการเงินของกิจการอย่างถูกวิธีและเคร่งครัด ทำให้ไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนว่ากิจการของตนมีเงินที่เหลือหรือขายได้แท้ที่จริงแล้วคือยอดเท่าใด เมื่อมีการเบิกจ่ายหรือตรวจนับจึงคลาดเคลื่อนหรือไม่สามารถประมาณการได้ง่าย
แล้วต้องทำยังไง?
สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ แยกกระเป๋า แยกเงิน วิธีง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน จะช่วยแก้ปมปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับการแยกกระเป๋ารับจ่ายเงินอย่างชัดเจน เช่น
กระเป๋าที่ 1 ไว้รับ-จ่ายเงินที่เกี่ยวกับร้านค้า เช่นหากร้านของคุณทำกิจการค้าขายเสื้อผ้า โดยการเช่าที่
-
เงินที่ได้รับและจะนำมาใส่ในกระเป๋านี้ได้ คือ เงินได้จากการขายเสื้อผ้า
-
รายจ่ายที่คุณสามารถนำเงินจากกระเป๋าหยิบออกไปจ่ายได้ คือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับร้านขายเสื้อผ้า เช่น ค่าเช่าที่, ค่าน้ำ-ไฟ แผงที่ต้องจ่าย ค่า อุปกรณ์ ของแผงต่างๆ ค่าถุงหิ้วหรือบรรจุภัณฑ์ ที่ให้ลูกค้า ค่าซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุด เป็นต้น
คำถาม : แล้วค่ากินระหว่างวันละ ค่ารถกลับบ้าน/ค่าน้ำมันรถที่ขับ จะเอาจากกระเป๋านี้ไปจ่ายได้ไหม?
ตอบ : ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่เกิดขึ้นระหว่างวัน จากการไปทำการค้า ที่ไม่เกินสมควร เช่นค่าอาหาร น้ำดื่มแต่ละมื้อ
ค่าเดินทาง/ค่าเชื้อเพลิง ไปกลับ ที่พัก-ร้านค้า (ไม่นอกเหนือเส้นทางจากนี้) โดยส่วนตัวผมมองว่า ก็สามารถที่จะหยิบจากกระเป๋านี้ไปจ่ายได้
คำถาม : เพื่อนเอาเงินที่ยืมมาใช้คืนให้ จะใส่กระเป๋านี้ได้ไหม?
ตอบ : เนื่องจากเป็นเงินส่วนตัวที่คุณให้เพื่อนยืม ดังนั้น เมื่อเพื่อนนำมาคืนให้ ไม่ควรนำมาใส่ปะปนในกระเป๋าร้านค้า
คำถาม : ค่าส่งสินค้า ค่ากล่อง แพ็คเกจจิ้ง ที่บรรจุและไปให้ลูกค้าในต่างจังหวัด
ตอบ : เป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า ให้นำเงินจากร้านค้าไปจ่ายเท่านั้น
คำถาม : ถ้าเงินในกระเป๋าร้านค้ามีไม่พอ แต่มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจะทำยังไง? เช่น กระเป๋าร้านมีเงินอยู่ 2,000 บาท แต่ต้องจ่ายค่าสินค้าเพื่อสต๊อคสินค้าไว้ 3.000 บาท
ตอบ : ให้นำเงินส่วนตัวมาใส่ในกระเป๋าร้านค้าเพื่อให้เพียงพอสำหรับการนำไปใช้ และจดบันทึกไว้ว่า ร้านค้ายืมเงินส่วนตัวไป เช่น จากตัวอย่างเงินร้านขาดเงินอีก 1000 บาท หากเจ้าของร้านนำเงินส่วนตัวมาใส่ในกระเป๋านี้ ก็ให้จดไว้ว่า ร้านค้ายืมเงิน 1000 บาท เมื่อใดที่กระเป๋าร้านค้ามีเงินเพียงพอ ก็ให้ทำการหยิบเงินออกจากร้านค้าเท่าที่หยิบยืมคืนมา
กระเป๋าที่ 2 ไว้รับ-จ่ายเงิน ที่เป็น รายการส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับร้านค้าโดยตรง
(สมมติจากตัวอย่างเดิมกรณีกิจการเป็นร้านเสื้อผ้า) เช่น
-
ได้รับเงินคืนที่คนอื่นยืมไป
-
ได้รับเงินจากการขอยืมผู้อื่นเพื่อไปใช้ส่วนตัว เช่น ยืมเพื่อนมาเพื่อไปจ่ายค่างวดรถ
-
ได้รับเงินจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล
-
จ่ายเงินให้เพื่อนที่ขอยืมเงินไป
-
จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ที่บ้านพักของตนเอง
-
จ่ายค่าเช่าบ้าน
-
บุตร หลาน มาขอเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายส่วนตัว
คำถาม : ถ้าขายของแบบออนไลด้วย ค่าโทรศัพท์และอินเตอร์เนทจะคิดยังไง?
ตอบ : แบ่งเป็น 2 กรณี ครับ
กรณี 1 มีเบอร์ไว้สำหรับโทรและใช้อินเตอร์เน็ทเพื่อร้านค้าโดยตรง แบบนี้ค่าใช้จ่ายให้คิดเป็นของร้านค้าได้เลยทั้งหมดให้นำเงินจากกระเป๋าที่ 1 จ่ายเท่านั้น
กรณี 2 เบอร์โทรและอินเตอร์เน็ท ใช้ทั้งแบบคุยส่วนตัวและไว้ติดต่อลูกค้าด้วย คงจะแบ่งยากสักนิดแต่สามารถคิดได้คร่าวๆโดยประมาณการเป็นร้อยละ ว่าการใช้งานใน 1 เดือนนั้นมีการติดต่อเจรจาเพื่อธุรกิจ เป็นกี่ % จากการใช้งานทั้งหมด เมื่อคำนวณได้แล้วก็จะทราบได้ว่าควรนำเงินจากกระเป๋า 1 และ 2 มาจ่ายในสัดส่วนเท่าใด
คำถาม : ค่าน้ำมันรถที่ต้องขับ ใช้ทั้งส่วนตัวและไปร้านขายของ ต้องคิดยังไง
ตอบ : นับจำนวนระยะทางจากที่พักไปร้านค้า และร้านค้ากลับมาที่พัก ว่าระยะทางรวมเท่าใด จากนั้นให้คูณด้วยอัตราสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง (บาท/ลิตร) หากนอกเส้นทางดังกล่าวไม่ควรนำมารวมคำนวณด้วย
คำถาม : ค่าธรรมเนียม ธนาคาร เช่น ค่าโอน ค่าบริการ ที่จ่ายให้ธนาคารเวลาลูกค้าโอนเงินมาเกิน
ตอบ : เนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวกับร้านค้าโดยตรงควรนำเงินจากกระเป๋าที่ 1 มาใช้ เท่านั้น
นี่เป็นเพียงบางส่วนในชีวิตจริงของพ่อค้าแม่ค้าทั้งแบบ ออฟไลน์ และออนไลน์ ต้องประสบพบเจอ ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่า มีที่ทำได้จริงๆคือแยกกระเป๋าอย่างชัดเจน ได้ไม่ถึงครึ่ง เพียงเพราะเหตุผลต่างๆ เช่น
“ขี้เกียจ” บ้างละ…
“จะแบ่งทำไมให้เสียเวลา ปวดหัว สุดท้ายยังไงมันก็เข้าที่กระเป๋า/บัญชีของเรา ขายของแค่นี้ก็ปวดหัวจะตายอยู่แล้ว”
หรือ….
“ไม่มีเวลาหรอก อยากทำอยู่นะ แต่มันวุ่นวายมากเลย เงินไม่หายก็พอแล้ว”
อาเถอะจ๊ะ พ่อคุณ แม่คุณ ทั้งหลาย…เงินของคุณ…ร้านของคุณ….คิดเอาเอง….
ที่มา เรื่อง อชิระ ประดับกุล ผู้เชียวชาญด้านบัญชี https://postfamily.thailandpost.com/start-a-biz/ขายของดี-แต่เงินหายไปไห/