การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร

เมื่อไรต้องเฉลียภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการ

  1. ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  2. ประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON-VAT)

โดยมีการซื้อสินค้าและบริการมาใช้ในกิจการทิ้ง 2 ประเภทและไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการประเภทไหน จึงต้องนำมาภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามสัดส่วน

หากไม่เฉลียภาษีซื้อ => ภาษีซื้อต้องห้ามทั้งจำนวน

ตัวอย่างกิจการที่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ

VAT NON-VAT
รับเหมาก่อสร้าง ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
ส่งออกพืชผลทางการเกษตร ขายพืชผลทางการเกษตร

วิธีเฉลี่ยภาษีซื้อ มี 2 วิธี

  1. เฉลี่ยตามส่วนของรายได้
  2. เฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

วิธี 1 เฉลียตามส่วนของรายได้ (วิธีทั่วไป)

ปีแรกที่เริ่มมีรายได้

- รายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือน

- ปีแรกให้เฉลียภาษีซื้อได้ไม่เกิน 50% แล้วค่อยมาปรับปรงยอดอีกทีหลังสิ้นปี

เดือน ภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตาม

ประมาณการรายได้

ภาษีซื้อที่มีสิทธิ์

หักออกจากภาษีขาย 50%

ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามจริง

45%

ขายผัก 40%

(NON-VAT)

ขายอาหาร 60%

(VAT)

มิถุนายน 15,000 6,000 9,000 7,500 6,750
กรกฎาคม 10,000 4,000 6,000 5,000 4,500
สิงหาคม 12,000 4,800 7,200 6,000 5,400
กันยายน 5,000 2,000 3,000 2,500 2,250
ตุลาคม 25,000 10,000 15,000 12,500 11,250
พฤศจิกายน 30,000 12,000 18,000 15,000 13,500
ธันวาคม 20,000 8,000 12,000 10,000 9,000
รวม 117,000 46,800 70,200 58,000 52,650

สมมุติปีแรก คือ 25 x 1

ยอดขายจริง ขายผัก 55% : ขายอาหาร 45%

เปรียบเทียบ ภาษีซื้อที่มีสิทธิ์หักออกจากภาษีขาย 50% VS ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามจริง 45%

58,500 - 52,650 จ่ายเพิ่ม 5,850

- สรุปยอดขายทีเกิดขึ้นจริง และปรับปรุงยอด โดยยื่นแบบ ภ.พ.30.2 ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 25X2 (ปีถัดจากที่ยื่นปีแรก)

  • ภาษีซื้อเฉลียตามประมาณการ > ภาษีซื้อที่หักได้จริง => ต้องจ่ายเพิ่ม
  • ภาษีซื้อเฉลียตามประมาณการ < ภาษีซื้อที่หักได้จริง => ขอคืนภายใน 3 ปี

ปีทีสอง และปีต่อๆไป เฉลียตามสัดส่วนของรายได้ปีที่ผ่านมา

สิ้นปี เลือกได้ว่า

  • ปรับปรุงตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริง ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป หรือ
  • ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อ และปีใหม่ก็ใช้ดส่วนของรายได้ปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์

ข้อยกเว้น

มีรายได้ที่ต้องเสีย VAT ไม่น้อยกว่า 90/ -> เลือกนำภาษีซื้อมาใช้ได้ทั้งจำนวน

มีรายได้ Non-VAT ไม่น้อยกว่า 90/ -> เลือกไม่นำภาษีซื้อมาใช้เลย

เลือกแล้วเลือกเลย ห้ามเปลี่ยนไปมา เว้นแต่จะขออนุมีติจากอธิบดีกรมสรรพากร

วิธี 2 เฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

การเฉลียภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ในกิจการประเภทที่มี VAT และ Non-VAT

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของการเฉลียภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารจากกรมสรรพากรข้อ 5 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)

 

ที่มา เพจ บัญชีภาษี กี่ปีก็ไม่เข้าใจ